สภาพและปัญหาของการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร

Authors

  • พรรณทิภาภรณ์ อภิปริญญา fffffsky@gmail.com
  • จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

Keywords:

Professional Learning Community

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1และเขต 2 กรุงเทพมหานคร ประชากร คือ โรงเรียนในสังกัดจำนวน 119 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการหรือหัวหน้ากลุ่มสาระฯ และครู จำนวน 276 คน โดยใช้แบบสอบถามความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และการหาค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า ขั้นเตรียมการ พบว่า 1) ขั้นสร้างวิสัยทัศน์ ส่วนใหญ่โรงเรียนจัดอบรมเกี่ยวกับ PLC ให้กับครูและผู้บริหารสถานศึกษา ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ผู้บริหารและครูขาดความรู้เกี่ยวกับ PLC 2) ขั้นวางแผน ส่วนใหญ่โรงเรียนจัดตั้งทีมทำ PLC ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ครูไม่สังเกตการสอนเพื่อนครูศึกษาปัญหา 3) ขั้นการออกแบบกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วม พบว่าส่วนใหญ่สร้างกิจกรรมเชื่อมโยงหลักสูตรปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ครูไม่ร่วมประชุม PLC ตามกำหนด
ขั้นลงมือสร้างชุมชนการเรียนรู้ พบว่า 1) ขั้นวางแผน ส่วนใหญ่โรงเรียนสร้างการทำงานเป็นทีม ปัญหาที่พบคือ ครูมีภาระงานมาก 2) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่าส่วนใหญ่ครูร่วมวงสนทนาจากสิ่งที่ปฏิบัติจริง ปัญหาที่พบคือ ผู้บริหารไม่ติดตามอย่างสม่ำเสมอ 3) ขั้นการสะท้อนผล พบว่าส่วนใหญ่ครูได้ประสบการณ์ไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ปัญหาส่วนใหญ่ คือ โรงเรียนไม่กำกับติดตาม PLC  ขั้นประเมินการสร้างชุมชนการเรียนรู้ ส่วนใหญ่โรงเรียนประเมินความต้องการและสภาพปัญหาหลังทำ PLC  ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ โรงเรียนขาดการปรับปรุงการดำเนินงาน PLC ให้มีประสิทธิภาพมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมพร้อมสนับสนุนโครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร (คูปองครู). สืบค้นจาก https://www.thaigov.go.th/news/content s/ details/14579.

กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สพม.1. (2560). รายงานแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1.กรุงเทพมหานคร: สพม1.

กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สพม.2. (2560). รายงานแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2.กรุงเทพมหานคร:สพม2.

ชวลิต ชูกำแพง. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครู Professional Learning Community : PLC. วารสารการวัดผลศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(2), 1-5.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวทางการนำมาใช้ในสถานศึกษาProfessional Learning Community and Guidelines for Application in Educational
Institutions กรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10(1), 1-8.

พรรณอร อุชุภาพ. (2561). การศึกษาและวิชาชีพครู. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และ อรพิน ศิริสัมพันธ์ .(2561). ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู Professional learning Community กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ.
กรุงเทพฯ: M&N design printing.

มติชนออนไลน์. (2560). เครื่องมือพัฒนาครูไทย‘Professional Learning Community’ ยกระดับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ. สืบค้นจาก http: //www.matichon.co.th/newsmonitor/
news_570673.

สิริรักษ์ นักดนตรี. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). สืบค้นจาก https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789


สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2558). ปรัชญาและมโนทัศน์สังคมแห่งการเรียนรู้ : Philosophies and Concepts of Learning Society. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสถียร อ่วมพรหม. (2560). แนวทางการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community : PLC. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

Policy and Leadership Studies, National Institute of Education, Nanyang Technological University, Singapore. (2011). Singapore schools and professional learning
communities: teacher professional development and school leadership in an Asian hierarchicalsystem. Retrieved from http: //www.tandfonline.com/doi/full.

Hairon, S., & Tan, C. (2016). Professional Learning Communities in Singapore and Shanghai: Implications for Teacher Collaboration. Compare: A Journal of
Comparative and International Education. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication

Stoll, Louisc., Bolam Ray., Mcmahon, Agnes, Wallace, Mike, …Thomas, Sally. (2006). Professional learning communities: review of the literature. Retrieved fromhttp:
//schoolcontributions. cms wiki.wikispaces.net/file view /PROFESSIONAL+LEARNING COMMUNITIES+A+REVIEW+OFpdf

Downloads

Published

2019-12-26

How to Cite

อภิปริญญา พ., & สุดรุ่ง จ. (2019). สภาพและปัญหาของการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร. An Online Journal of Education, 14(2), OJED1402047 (12 pages). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/193342