การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษา ตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 (ร้อยเอ็ด)
Keywords:
DUAL CURRICULUM, IMPREMENTATIONAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 (ร้อยเอ็ด) ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 (ร้อยเอ็ด) จำนวน 33 โรงเรียนผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ หัวหน้างานหลักสูตรหรือครูที่รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอนจากวิทยาลัยอาชีวศึกษา รวมทั้งสิ้น 123 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ ผลการวิจัย 1) งานบริหารหลักสูตร พบว่า ภาพรวมของการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการประชาสัมพันธ์หลักสูตรแก่ผู้ปกครองและชุมชน มีการปฏิบัติมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100.00 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 อยู่ในระดับมาก ปัญหาของภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดแผนการเรียน ประสบปัญหามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 84.27 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.00 อยู่ในระดับน้อย 2) งานสอน พบว่า ภาพรวมของการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนการสอน มีการปฏิบัติมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100.00 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 อยู่ในระดับมาก ปัญหาของภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการทำความเข้าใจในหลักสูตรและปรับให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น ประสบปัญหามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 77.10 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.97 อยู่ในระดับน้อย
References
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). เอกสารประกอบร่างการจัดการศึกษาโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน.
คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2559). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา). กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร:หลักการและแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อลีนเพรส.
ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไทยรัฐออนไลน์. (2557). วิกฤติ! แรงงานขาดแคลน ทำไมเด็กเรียนอาชีวะน้อยลง?. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2561. https://www.thairath.co.th/content/426863
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ยงยุทธ แฉล้มวงษ์. (2558). แรงงานไทยในบริบทใหม่เมื่อเปิดประชาคมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2561. https://tdri.or.th.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อาร์ แอนด์ ปริ้นท์.
สยามรัฐออนไลน์. (2561). สพฐ.ส่งเสริมเรียนต่อสายอาชีพ. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2561. https://siamrath.co.th/n/32331.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2561, กันยายน 3). หนังสือเวียน เรื่อง การจัดสรรงบประมาณโครงการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย – ปวช. (ทวิศึกษา) ภาคเรียนที่ 1/2561, ศธ 04229/951.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.