การวิเคราะห์หนังสือเด็กสำหรับวัย 3-6 ปี ของห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ห้วยขวาง

Authors

  • พลอยไพลิน ปัทมินทรวิภาส
  • วรวรรณ เหมชะญาติ

Keywords:

หนังสือเด็ก, ประเภทหนังสือเด็ก, ห้องสมุดสาธารณะ, CHILDREN’S BOOK CONCEPT, TYPES OF CHILDREN’S BOOK, PUBLIC LIBRARY

Abstract

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อวิเคราะห์ประเภทหนังสือเด็กสำหรับวัย 3 - 6 ปี ในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ห้วยขวาง  และ (2) เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ของหนังสือเด็กสำหรับวัย 3-6 ปี ในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ห้วยขวาง 3 ด้าน  ได้แก่  สุขภาพความปลอดภัย  การอยู่ร่วมกันในสังคม  และสาระความรู้  ตัวอย่างคือ หนังสือเด็กสำหรับวัย 3-6 ปี ของห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ห้วยขวาง ปี พ.ศ. 2562 จำนวน 276 เล่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกการวิเคราะห์หนังสือเด็กสำหรับวัย 3-6 ปี  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ  ผลการวิจัยพบว่า  (1) ประเภทหนังสือเด็กสำหรับวัย 3-6 ปี มีทั้งหมด 4 ประเภท  ได้แก่  ประเภทหนังสือที่มีภาพประกอบ  คิดเป็นร้อยละ 69.20  รองลงมาคือ ประเภทหนังสือที่นำเสนอมโนทัศน์  คิดเป็นร้อยละ 25.73  ประเภทหนังสือสารานุกรม  คิดเป็นร้อยละ 4.35  และประเภทหนังสือภาพ  คิดเป็นร้อยละ 0.72 ตามลำดับ  (2) หนังสือเด็กสำหรับวัย 3-6 ปี ในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ห้วยขวางมีภาพรวมของค่าร้อยละในมโนทัศน์ด้านการอยู่ร่วมกันในสังคมสูงที่สุด  คิดเป็นร้อยละ 59.06  รองลงมาคือ ด้านสาระความรู้  คิดเป็นร้อยละ 31.88  และด้านสุขภาพอนามัย  คิดเป็นร้อยละ 9.06  ตามลำดับ

References

เจด็จ คชฤทธิ์. (2554). เด็กกับหนังสือ คู่มือความเข้าใจเด็กและหนังสือสำหรับเด็ก. นนทบุรี: บ้านหนังสือ.

จุมพจน์ วนิชกุล. (2544). ประวัติและพัฒนาการของห้องสมุดประชาชนในประเทศไทย ห้องสมุดประชาชน สังกัดหน่วยงานอื่น ๆ . สืบค้นจาก https://www.wachum.org/eBook/1633405/pub66.html

นิตยา วรรณกิตร์. (2559). วรรณกรรมสำหรับเด็ก. นนทบุรี: อินทนิล.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2560). เลี้ยงลูกด้วยนิทาน. กรุงเทพ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักสถิติแห่งชาติ. (2559). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจการอ่านของประชากร พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: บางกอกบล๊อก.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลกรุงเทพมหานคร. (2556). แผนการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556-2560. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/wp-content/uploads/2016/07/plan-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%AF-2556-2560.pdf

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย. (2556). โครงการพัฒนาองค์ความรู้ห้องสมุดและวิชาชีพบรรณารักษ์. กรุงเทพ: สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย.

Jalongo, M. R., Dragich, D., Conrad, N. K., & Zhang, A. (2002). Using wordless picture books to
support emergent literacy. Early Childhood Education Journal,29(3), 167-177.

Downloads

Published

2019-12-27

How to Cite

ปัทมินทรวิภาส พ., & เหมชะญาติ ว. (2019). การวิเคราะห์หนังสือเด็กสำหรับวัย 3-6 ปี ของห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ห้วยขวาง. An Online Journal of Education, 14(2), OJED1402054 (10 pages). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/198005