ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารของ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Keywords:
ENGLISH FOR COMMUNICATION, SUPPORTING STAFF, CHULALONGKORN UNIVERSITYAbstract
บทความนี้นำเสนอสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงบรรยาย ประชากรคือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 19 คณะ ประกอบด้วย 1) พนักงานมหาวิทยาลัยจากคณะกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ 2) พนักงานมหาวิทยาลัยจากคณะกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น
ผลการศึกษาพบว่า ทักษะที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงานมากที่สุดคือการฟัง รองลงมาคือการพูด การอ่านและการเขียน สภาพปัจจุบันของการพัฒนาสมรรถนะด้วยรูปแบบการฝึกอบรมในงานและการฝึกอบรมนอกงานอยู่ในระดับน้อย ในขณะที่สภาพพึงประสงค์อยู่ในระดับมากทั้งสองรูปแบบ การฝึกอบรมที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือการฝึกอบรมนอกงาน รองลงมาคือการฝึกอบรมในงาน วิธีการพัฒนาของการฝึกอบรมนอกงานที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รองลงมาคือการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และวิธีการพัฒนาของรูปแบบการฝึกอบรมในงานที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือโปรแกรมพี่เลี้ยง รองลงมาคือการเรียนรู้จากการทำงานจริง
References
เฉลิม วราวิทย์ และสมคิด แก้วสนธิ. (2522). เอกสารสัมมนาอาจารย์: การสอนแบบกลุ่มย่อย. กรุงเทพฯ: คณะทำงานโครงการพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มปป.
โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: รูปแบบ วิธีการ และแนวทางการนำไปปฏิบัติ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, Vol. 4 No. 2, มกราคม-มิถุนายน 2556
ทัศนีย์ ศุภเมธี. (2526). การใช้ภาษาไทย (ไทย 101). กรุงเทพฯ : ธนะการพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทร์นฤน เจริญลาภ. (2552). การพัฒนาบทเรียน e-Learning ชุดวิชาการพัฒนาศักยภาพระบบบริการของพยาบาลระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ.
แผนยุทธศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2560-2563.
แผนยุทธศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2555-2570).
วิจารณ์ พานิช, (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิจิตร ศรีสอ้าน, (2561). บรรยายพิเศษ การเรียนการสอนและการใช้ภาษาอังกฤษในยุคไทยแลนด์ 4.0. สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ www.wu.ac.th
วิภาดา ประสารทรัพย์. (2542). พฤติกรรมการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
วิไลพร ธนสุวรรณ. (2530). เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิวพร นิลสุข. (2551). การพัฒนาการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดวอลดอร์ฟ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ (กศ.ม. หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สงบ ลักษณะ. (2541). แนวทางการประกันคุณภาพ วารสารข้าราชการครู. มิถุนายน – กรกฎาคม 2541.
สมคิด บางโม. (2551). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ : วิทยวัฒน์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
Alipour, Mehrdad. (2009). A Study of on the Job Training Effectiveness: Empirical Evidence og Iran. International Journal of Business and Management, Vol. 4, No. 11.
Armstrong, M. (2014). Armstrong’s handbook of Human Resource Management Practice. (13th ed). UK, Ashford Colour press.
Guskey, T.R., & Huberman. (1995). Professional Development in Education New Paradigms and Practices. New York: Teacher College Press.
Hord, S. M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of Continuous Inquiry and Improvement. Austin, Texas: Southwest Educational Development Laboratory. Retrieved May 4, 2016 from https:/ www.sedl.org/siss/plccredit.html.
International Coach Federation: ICF. (1999). ICF Professional Coaching Core Competencies.
Knight, P. (2002). A systemic approach to professional development: Learning as practice. Teaching and Teacher Education, Vol. 18, Issue 3, 229-241.
Littlewood, William. (1983). Communicative Language Teaching: An Introduction. Cambridge: University Press.
Lussier, R. N., & Hendon, J. R. (2013). Human resource management. California. USA: SAGE.
McDonough, Jo & Shaw, Christopher & Masuhara, Hitomi. (2013). Materials and Methods in ELT. Third Edition. Blackwell Publishing Ltd.
Mayer, R. (2003). Learning and Instruction. New Jersey: Pearson Education, Inc.
Rabin, R. (2014). Blended Learning for leadership: the CCL Approach. A White Paper. Center for Creative Leadership. www. ccl. org/wp-content/uploads/2015/04/BlendedLearningLeadership. pdf.
Smith, M. Cecil and Pourchot, Thomas. (2013). Adult Learning and Development: Perspectives from Educational Psychology.