แนวปฏิบัติที่ดีเลิศในการจัดห้องสมุดสำหรับเด็ก: ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ห้วยขวาง
Keywords:
CHILDERN’S LIBRARIES, PUBLIC LIBRARY, BEST PRACTICEAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวปฏิบัติที่ดีเลิศในการจัดห้องสมุดสำหรับเด็กของห้องสมุดเพื่อ
การเรียนรู้ห้วยขวาง ปีพุทธศักราช 2562 ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการให้บริการและกิจกรรม และด้านการจัดสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ห้องสมุดจำนวน 6 คน และ ผู้ใช้บริการจำนวน 169 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดปฏิบัติอยู่ในระดับดี (M = 4.42) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดสิ่งแวดล้อม (M = 4.52) ประกอบด้วย การจัดสื่อการเรียนรู้ (M = 4.53) และการจัดพื้นที่และบรรยากาศ (M = 4.50) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การให้บริการและกิจกรรม (M = 4.26) ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ (M = 4.54) และการให้ความรู้ชุมชน (M = 3.97)
ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการห้องสมุดภาพรวมอยู่ในระดับดี (M = 3.80) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การจัดสิ่งแวดล้อม (M =4.04) ประกอบด้วย การจัดพื้นที่และบรรยากาศ (M = 4.06) และการจัดสื่อการเรียนรู้ (M = 4.01) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การให้บริการและกิจกรรม (M = 3.62) ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ (M = 3.73) การอำนวยความสะดวกและให้บริการ (M = 3.67) และการให้ความรู้ชุมชน (M =3.47)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2550). ห้องสมุดในฝัน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ชุติมา สัจจานันท์ และ บุญศรี พรหมาพันธุ์. (2554). รายงานการวิจัยและพัฒนามาตรฐานและตัวชี้วัดการดำเนินงานห้องสมุดมีชีวิต รูปแบบอุทยานการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย. (2556). โครงการพัฒนาองค์ความรู้ห้องสมุดและวิชาชีพบรรณารักษ์ งานจัดตั้งและบริการห้องสมุด (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2561) แผนบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556-2560. สืบค้นจาก https://www.bangkok.go.th/upload/user/00000130/Logo/Document/2Management%20Plan%20governor%202556-2560.pdf
U.S. Department of Education. (2013). Beyond Books: Library Services for Children. Retrieved
from https://www2.ed.gov/pubs/parents/Library/Services.html.
International Federation of Library Associations and Institutions. (2003). Library for children
and young adults section : Guidelines for children’s libraries services. Retrieved
from https://www.ifla.org/files/assets/libraries-for-children-and-ya/publications
/guidelines-for-childrens-libraries-services-en.pdf?fbclid=IwAR3FiSEgxtydsk8VL-8CW8JmAmD9d7E3t6PSvzzt6qcoUjdUG7KiFSYjt44.