การเปรียบเทียบรูปแบบการทดลองที่มีต่อความใฝ่รู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • ภัทรภร เปรมปรี นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุชาดา บวรกิติวงศ์ อาจารย์ประจาภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ความใฝ่รู้, การทดลองแบบเปลี่ยนแปลงเกณฑ์, การทดลองแบบเปลี่ยนแปลงเกณฑ์เป็นช่วง, INQUIRY MIND, CHANGING CRITERION DESIGN, RANGE-BOUND CHANGING CRITERION DESIGN

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อเปรียบเทียบระดับความใฝ่รู้ของนักเรียนในกลุ่มทดลองที่ได้รับรูปแบบการดำเนินกิจกรรมด้วยแบบแผนการทดลองแบบเปลี่ยนแปลงเกณฑ์(กลุ่มทดลองที่ 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับรูปแบบการดำเนินกิจกรรมด้วยแบบแผนการทดลองแบบเปลี่ยนแปลงเกณฑ์เป็นช่วง(กลุ่มทดลองที่ 2) และกลุ่มควบคุม และ (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคงทนของความใฝ่รู้ของนักเรียนในกลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 90 คน โรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 จานวน 30 คน กลุ่มทดลองที่ 2 จานวน 30 คน และกลุ่มควบคุมจานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) แบบประเมินพฤติกรรมการแสวงหาความรู้ (2) แบบวัดเจตคติต่อการแสวงหาความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย(descriptives statistic) การทดสอบที(t - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(one – way ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ(repeated measures ANOVA)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) นักเรียนกลุ่มทดลองแต่ละกลุ่มมีความใฝุรู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนในกลุ่มทดลองที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการแสวงหาความรู้หลังการทดลองสูงกว่านักเรียนในกลุ่มทดลองที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .05 และจากการวิเคราะห์เจตคติต่อการแสวงหาความรู้พบว่านักเรียนในกลุ่มทดลองที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยของเจตคติต่อการแสวงหาความรู้หลังการทดลองสูงกว่านักเรียนในกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ในระยะศึกษาความคงทนของความใฝ่รู้หลังการทดลองพบว่ากลุ่มทดลองมีความคงทนของความใฝ่รู้เกิดขึ้นหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองที่ 1 มีความคงทนของความใฝ่รู้สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: ความใฝ่รู้/การทดลองแบบเปลี่ยนแปลงเกณฑ์/การทดลองแบบเปลี่ยนแปลงเกณฑ์เป็นช่วง

 

Abstract

The purposes of this research were (1) to compare the effect of the experimental models toward the inquiry mind of eleventh grade students through changing criterion design(The experimental group 1), the experimental group was proceed by range-bound changing criterion design(The experimental group 2) and the control group and (2) to compare durability level of students’ inquiry mind from the experimental group 1, the experimental group 2 and the control group. The subjects were 90 eleventh grade students in schools where belong to Bangkok Secondary Educational Service Area were chosen the sample through purposive sampling of academic year 2012. They were divided by using simple random sampling into an experimental group 1 of 30 students, the experimental group 2 of 30 students and the other 30 students in a control group.

Research instruments were (1) inquiry mind behavior assessment (2) inquiry mind attitude test which data analyzed by descriptive statistics T-test one – way ANOVA and repeated measures ANOVA. The research findings were as follow (1) Inquiry mind level of each experimental group was higher after did the experiments were significant difference at .05 level. Inquiry mind behavior score of the experimental group 1 was higher than the experimental group 2 were significant difference at .05 level and from analyzed inquiry mind attitude found mean score of the experimental group 2 was higher than the experimental group 1 were significant difference at .05 level. (2) In the durability level of inquiry mind research, after experiment was found out durability level of inquiry mind of the experimental group was higher than the control group. The durability level of inquiry mind of the experimental group 1 was higher than the experimental group 2 and the control group were significant difference at .05 level.

KEYWORDS: INQUIRY MIND/CHANGING CRITERION DESIGN/RANGE-BOUND CHANGING CRITERION DESIGN

Downloads

Published

2015-12-28

How to Cite

เปรมปรี ภ., & บวรกิติวงศ์ ส. (2015). การเปรียบเทียบรูปแบบการทดลองที่มีต่อความใฝ่รู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. An Online Journal of Education, 9(4), 282–294. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20358