สภาพและปัญหาการจัดการความรู้ ของสถานศึกษาสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Authors

  • ญาณิศา มีบรรจง นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เอกชัย กี่สุขพันธ์ อาจารย์ประจาสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การจัดการความรู้, KNOWLEDGE MANAGEMENT

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง ประชากรคือ บุคลากรของสถานศึกษาสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ที่จัดการสอนในระดับปริญญาตรีได้แก่ คณะศิลปศึกษา, ศิลปวิจิตร และศิลปนาฏดุริยางค์ รวม 105 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปผู้ตอบแบบสอบถาม 2) แบบสอบถามสภาพการจัดการความรู้ 3) แบบสอบถามปัญหาการจัดการความรู้ ซึ่งผลการวิจัยมีดังนี้ ภาพรวมพบว่า องค์กรมีการกำหนดสิ่งที่บุคลากรต้องแสวงหาความรู้อยู่ในระดับมาก ส่วนการกำหนดสิ่งที่ต้องแสวงหาความรู้นั้นอยู่บนพื้นฐานของลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติอยู่ในระดับมากเช่นกัน ส่วนการส่งเสริม สนับสนุน การแสวงหาความรู้

ภาพรวมพบว่า มีการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรมีการแสวงหาความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ในขณะที่บุคลากรใช้แหล่งความรู้ที่องค์กรสนับสนุนให้แสวงหาความรู้อยู่ในระดับน้อยและน้อยที่สุด ตามรายละเอียดดังนี้ 1. คณะศิลปศึกษา 1) การแสวงหาความรู้ พบว่าแหล่งความรู้ภายในคือการปฏิบัติและภายนอกคือฝึกอบรมนอกหน่วยงานอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งสองเรื่อง 2) การสร้างความรู้ พบว่าการศึกษาด้วยตนเองอยู่ในระดับน้อย 3) การจัดเก็บและสืบค้น พบว่าเกิดจากการปฏิบัติและแก้ปัญหาอยู่ในระดับมาก 4) การถ่ายโอนความรู้และใช้ประโยชน์ พบว่าจัดให้มีการบรรยายอยู่ในระดับน้อยและใช้อินทราเน็ตภายในองค์กรอยู่ในระดับมากที่สุด 2. คณะศิลปวิจิตร 1) การแสวงหาความรู้ พบว่าแหล่งความรู้ภายในคือการอบรมอยู่ในระดับมากที่สุดและภายนอกคือการฝึกอบรมนอกหน่วยงานอยู่ในระดับมาก 2) การสร้างความรู้ พบว่าการศึกษาด้วยตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การจัดเก็บและสืบค้น พบว่าเกิดจากการวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้วิชาการอยู่ในระดับมาก 4) การถ่ายโอนความรู้และใช้ประโยชน์ พบว่าจัดให้มีการบรรยายอยู่ในระดับมากและมีสถานที่ประชุมอยู่ในระดับมากเช่นกัน 3. คณะศิลปนาฏดุริยางค์ 1) การแสวงหาความรู้ พบว่าแหล่งความรู้ภายในคือการอบรมอยู่ในระดับมากที่สุดและภายนอกคือการฝึกอบรมนอกหน่วยงานอยู่ในระดับมาก 2) การสร้างความรู้ พบว่าการศึกษาด้วยตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การจัดเก็บและสืบค้น พบว่าเกิดจากการวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้วิชาการอยู่ในระดับมาก 4) การถ่ายโอนความรู้และการใช้ประโยชน์ พบว่าจัดให้มีการบรรยายอยู่ในระดับมากและมีสถานที่ประชุมอยู่ในระดับมากเช่นกัน

คำสำคัญ: การจัดการความรู้

 

Abstract

The objective of this research is to study state and problems of knowledge management for education institutes of the Bunditpatanasilpa Institute. It carries out the survey emphasizing in the collection of quantitative data selection. The population is comprised of personnel of the Bunditpatanasilpa Institute arranging at bachelor level; those are Faculty of Art Education, Faculty of Fine Arts and Faculty of Music and Drama totally 105 persons. Questionnaire used to collect data focus on state and problems of Knowledge Management. Research finding are as follows

Overview finds organizations are determining what personnel need to seek knowledge at a high level. The need to define what knowledge is based on the nature of work to be performed at a high level as well. Promoting the pursuits overview found that encouraging people to seek knowledge at the highest level. While personnel with knowledge that the organization supports the pursuit of knowledge at low and the lowest level. As follows: 1. Faculty of Art Education; 1) Knowledge Acquisition found that internal knowledge sources from practical and external from outside training was at the highest level 2) Knowledge Creation found that self-studying was at low level 3) Knowledge Storage and Retrieval found that practical knowledge and developed from problem solving was at high level 4) Knowledge Transfer and Utilization found that self-knowledge with method of lecturing was at low level. 2. Faculty of Fine Arts; 1) Knowledge Acquisition found that internal knowledge sources from training was at the highest level and external from outside training was at high level 2) Knowledge Creation found that self-studying was at the highest level 3) Knowledge Storage and Retrieval found that research and knowledge developed from conversation with technical knowledge was at high level 4) Knowledge Transfer and Utilization found that the personnel to transfer self-knowledge with the method of lecturing was at moderately high level. 3. Faculty of Music and Drama; 1) Knowledge Acquisition found that internal knowledge sources from training was at the highest level and external from outside training was at high level 2) Knowledge Creation found that self-studying was at the highest level 3) Knowledge Storage and Retrieval found that research and knowledge developed from conversation with technical knowledge was at high level 4) Knowledge Transfer and Utilization found that the personnel to transfer self-knowledge with the method of lecturing was at high level.

KEYWORDS: KNOWLEDGE MANAGEMENT

Downloads

How to Cite

มีบรรจง ญ., & กี่สุขพันธ์ เ. (2014). สภาพและปัญหาการจัดการความรู้ ของสถานศึกษาสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. An Online Journal of Education, 9(3), 121–131. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20504