การนำเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร
Keywords:
การบริหารความเสี่ยง, เทคโนโลยีสารสนเทศ, โรงเรียนมัธยมศึกษา, RISK MANAGEMENT, INFORMATION COMMUNICATION TECHNOLOGY, SECONDARY SCHOOLSAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และนำผลการวิจัยเชิงปริมาณมาพัฒนาเป็นแนวทางการบริหารความเสี่ยง โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้บริหาร รองผู้อำนวยการ และบุคลากรผู้รับผิดชอบงานเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ เขต 2 กรุงเทพมหานคร จำนวน 425 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารหรือรองผู้อำนวยการเพื่อรับรองและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมัธยมศึกษา
แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และการวิเคราะห์เนื้อหาใช้ (PNI modified) ในการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับแนวทางในการบริหารความเสี่ยง ผลการวิจัย พบว่าแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานครมีแนวทางการบริหารตามลาดับ ดังนี้ 1) การระบุความเสี่ยง (Risk Identification) 2) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) 3) การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) 4) การจัดการความเสี่ยง (Risk Treatment) 5) การกากับและควบคุมความเสี่ยง (Risk Monitor and Control)
คำสำคัญ :การบริหารความเสี่ยง/ เทคโนโลยีสารสนเทศ/ โรงเรียนมัธยมศึกษา
Abstract
This research aims to propose guidelines for risk management information technology at secondary schools under the Office of the Basic Education Commission, Bangkok Metropolis. Both quantitative and qualitative methods of research methodology were used, with data collected from school directors, school deputies and school staff who responsible for the ICT in Schools under the Office of Secondary Area 1 and Area 2, consisting of 425 respondents who provided qualitative data from interviewing school directors and school deputy to suggest guidelines for risk management of information and communication technology at secondary schools. The Questionnaire and interviews were used to collect data and analyse by calculating the mean, percentages and content analysis. PNI modification was used to analyse needs assessment for risk management guidelines.The result of the study revealed that the needs of Risk Management in ICT in secondary schools has a management approach in the following order:1) Risk Identification 2) Risk Assessment 3) Risk Analysis 4) Risk Treatment 5) Risk Monitor and Control
Keywords: RISK MANAGEMENT/ INFORMATION COMMUNICATION TECHNOLOGY/ SECONDARY SCHOOLS