กลยุทธ์การบริหารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 4 สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร
Keywords:
กลยุทธ์, การบริหาร, หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, STRATEGIES, MANAGEMENT, THE BASIC EDUCATION CORE CURRICULUM 2008Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม และพัฒนากลยุทธ์การบริหารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานครจำนวน 11 โรงเรียน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 44 คน และครู จำนวน 262 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI Modifiedและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นด้วยดัชนี PNI Modifiedตามลาดับดังนี้ 1) ด้านการนำแผนไปปฏิบัติ 2) ด้านการวางแผน และ3)ด้านการประเมินผล สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นด้วยดัชนี PNI Modifiedตามลาดับดังนี้ 1)การวางแผน 2)การนำแผนไปปฏิบัติ และระดับมากด้านการประเมินผล โดยมีด้านที่เป็นจุดแข็งและโอกาส คือ การนำแผนไปปฏิบัติของการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและการส่งเสริมสนับสนุนระดับสถานศึกษา การวางแผนของการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษาและการกำกับดูแลคุณภาพระดับสถานศึกษา และการประเมินผลของการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและการส่งเสริมสนับสนุนระดับสถานศึกษา สภาพเป็นจุดอ่อนและภาวะคุกคาม คือ การนำแผนไปปฏิบัติของการดำเนินการระดับชั้นเรียนและการกำกับดูแลคุณภาพระดับสถานศึกษา การวางแผนของการดำเนินการระดับชั้นเรียนและการส่งเสริมสนับสนุนระดับสถานศึกษา การประเมินผลของการดำเนินการระดับชั้นเรียนและการกำกับดูแลคุณภาพระดับสถานศึกษา สำหรับกลยุทธ์การบริหารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 12 กลยุทธ์รอง และ 25 วิธีดำเนินการ
คำสำคัญ:กลยุทธ์/การบริหาร/หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Abstract
This study was conducted in descriptive research approach. It aimed to study the present state and the prospective state and the priority needs, to analyze strengths , weaknesses, opportunities and threats modified Priority Needs Index and develop the basic education core curriculum 2008 management strategies of group 4 secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 1 of 11 schools.The population comprised of 44 school administrators,262 teachers.The instruments used in this study were the questionnaire. Thedata were analyzed by frequency,percentage , average, standard deviation, PNI modifier, and content analysis
The research findings could be summarized as follows: The authentic state of curriculum management in terms of the overall and each espect was practiced at a moderate level by sorting needs with PNI Modified included implementation, planning, and evaluation ,respectively.The desirable state of curriculum management was at the highest level in the aspect of planning , implementation except evaluation was at the high level.The strengths or opportunities of curriculum management appeared in the curriculum implementation and encourage the educational institution for improvement planning and monitoring of curriculum development and curriculum evaluation.The weaknesses or threats appeared in implementation in classroom operation and Supervision of educational quality ,planning for classroom operation as well as evaluation of classroom operation and supervision of educational quality. In conclustion,the core curriculum 2008 management strategies of group 4 secondary schools comprised of 3 main strategies, 12 sub-strategies, and25 directions
KEYWORDS: STRATEGIES/MANAGEMENT/ THE BASIC EDUCATION CORE CURRICULUM 2008