กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร
Keywords:
กลยุทธ์, การบริหาร, ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ, STRETEGIES, MANAGEMENT, PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITYAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม และพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร โดยมีประชากรเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา จำนวน 5 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างของผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 10 คน ครูและบุคลากร จำนวน 348 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodifiedและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานครในภาพรวมและรายด้านทุกด้านปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นด้วยดัชนี PNImodifiedได้เป็น 1) ด้านหลักสูตร 2)ด้านการจัดการเรียนการสอน และ 3)ด้านการวัดและประเมินผล โดยมีด้านที่เป็นจุดแข็ง คือ การวัดและประเมินผล และด้านที่เป็นจุดอ่อน คือ หลักสูตร กับการจัดการเรียนการสอน สาหรับกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วยกลยุทธ์หลัก 3 กลยุทธ์ กลยุทธ์รอง 12 กลยุทธ์ และ วิธีดำเนินการ 29 วิธีดำเนินการ
คำสำคัญ: กลยุทธ์ / การบริหาร / ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ
Abstract
This study was conducted using a descriptive research method with the aim to study the present state, the desirable state, and the priority needs to develop management strategies to establish a professional learning community and to analyze strengths and weaknesses of such a plan. 5 schools in the Benjaburapha Joint Campus in Bangkok participated with 10 school administrators, 348 teachers and school staff. The instrument used to gather data in this study was questionnaires. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, PNI Modifier, and content analysis.
The results show that the desirable state of school management in terms of each aspect investigated was pursued at a high level by sorting needs with a PNI modified index. They were1 )Curriculum 2 ) Teaching and Learning Activities and 3 ) Measurement and Evaluation. The strengths in school management were related to measurement and evaluation. Weaknesses were related to curriculum and teaching and study activities. The management efforts to achieve a professional learning community comprised 3 main strategies, 12 sub-strategies and 29 procedures .
KEYWORDS: STRETEGIES / MANAGEMENT / PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY