สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครที่ผ่านการประเมินระดับดีมาก

Authors

  • บุญธิดา พัฒนวงศา นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เอกชัย กี่สุขพันธ์ อาจารย์ประจาสาขาวิชา บริหารการศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร, ผ่านการประเมินระดับดีมาก, ACADEMIC MANAGEMENT SECONDARY SCHOOLS UNDER DEPARTMENT OF EDUCATION BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION AN EXCELLENT LEVEL OF EVALUATION

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครที่ผ่านการประเมินระดับดีมาก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ผู้บริหาร 30 คน ครู 267 คน รวมทั้งสิ้น 297 คน ได้แบบสอบถามกลับคืน 250 ชุด (ร้อยละ 85.85)

ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา พบการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ครูมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ปัญหาที่พบในระดับมาก คือ บุคลากรในสถานศึกษาละเลยและไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พบการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ตรวจแผนการสอนทุกสัปดาห์ วิธีการแสวงหาความรู้ คิดและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยการค้นคว้าหาข้อมูลจากอินเทอร์เนต การจัดแหล่งเรียนรู้ ห้องสมุด ส่งครูเข้าร่วมอบรม ประชุม และ/หรือสัมมนา ที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้ของแต่ละคน ปัญหาที่พบในระดับมาก คือ ครูผู้สอนไม่นำผลการวิจัยไปพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องหรือส่งต่อในระดับสูง และครูผู้สอนไม่เห็นความสำคัญของการทำวิจัยในชั้นเรียน 3) การนิเทศการศึกษา พบการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ครูมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาวิธีการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนมากขึ้น มีการจัดติวเข้ม รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการทำหน้าที่นิเทศการศึกษา ปัญหาที่พบอยู่ในระดับมาก คือ การนิเทศการสอนไม่สามารถจัดได้อย่างสม่ำเสมอ 4) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพสถานศึกษา พบการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ ข้าราชการครูในสถานศึกษาเกิดความตระหนักเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและฝ่ายบริหารรับผิดชอบการพัฒนาระบบประกันคุณภาพ ปัญหาที่พบอยู่ในระดับมาก คือ ครูผู้สอนไม่มีการจัดเก็บผลงานอย่างต่อเนื่อง 5) การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน พบการปฏิบัติอยู่ระดับมากที่สุด คือ กิจกรรมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น

คำสำคัญ: การบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ผ่านการประเมินระดับดีมาก

 

Abstract

This research aimed to study the problems of academic management of secondary schools under the department of the Bangkok Metropolitan Administration. The research is based on 30 administrators and 267 teachers, 250 ( 85.85%) of whom returned questionnaires.

Results of the research were as follows: 1.) The area of development of school curriculum which performed at the highest level was teacher participation in the process of curriculum development. The problems found most were school staff ignored curriculum development. 2.) The area of development of the learning process that performed at the highest level were weekly monitoring of lesson plans, knowledge acquisition, initiation and innovation by searching from the internet and promoting learning resources. Teachers were given a chance to attend meetings and workshops particularly on topics related to their own departments. The problems found most were teachers did not implement the results of classroom research in order to solve students’ problem s and they did not do classroom research. 3.) Aspects of the supervision of instruction that performed at the highest level were teachers’ curiosity in finding appropriate teaching styles to fit students’ problem and provide intensive tutorials. The deputy school administrator for academic affairs acted as supervisor. The problem found most was supervision of instruction could not be regularly performed. 4.) Aspects of the development of the school quality assurance system that performed at a high level were awareness of teachers in quality assessment and development of quality assurance for which the school administrator was responsible. The problem found most was a failure to collect data on teachers’ productivity. 5.) The aspect of academic promotion for the community that performed at the highest level was the promotion of local wisdom; no problems were found in this category.

KEYWORDS: ACADEMIC MANAGEMENT SECONDARY SCHOOLS UNDER DEPARTMENT OF EDUCATION BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION AN EXCELLENT LEVEL OF EVALUATION

Downloads

How to Cite

พัฒนวงศา บ., & กี่สุขพันธ์ เ. (2014). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครที่ผ่านการประเมินระดับดีมาก. An Online Journal of Education, 9(3), 407–420. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20576