การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

Authors

  • พฤฒยา เลิศมานพ นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นันทรัตน์ เจริญกุล อาจารย์ประจาสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, แนวทางปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง, STUDENT’S ACTIVITIES ADMINISTRATION, THE GUIDELINES IN THE SECOND DECADE OF EDUCATION REFORM

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้วงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ของเดมมิ่ง เป็นกระบวนวิธีการการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนซึ่งมีกรอบแนวคิด 3 ด้าน คือ 1. กิจกรรมนักเรียน 2. กิจกรรมแนะแนว และ 3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำแนกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ตอนที่ 3 ข้อมูลจากคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับแนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นหญิงมากกว่าชาย เป็นผู้บริหารสถานศึกษาร้อยละ 50 และเป็นครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ร้อยละ 50 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโทและมีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป 2. การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและรายกิจกรรมทุกกิจกรรมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน / แนวทางปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง

 

Abstract

The purpose of this research was to study the existing situation of student activities’ administration according to the guidelines stated in the second decade of education reform affiliated with the school’s office of secondary education zone 1. The sample used in the study consisted of school administrators and teachers under the Office of Secondary Education Zone 1. They were selected by random sampling. The Quality Management Cycle (PDCA) Deming concept was used as the conceptual framework of the study on the administration of development activity learners. The questionnaire was used to gather the data and was classified into three parts. They included: Part 1 regarding information about the General status of the respondents; Part 2 regarding information about the administration of students’ activities; and Part 3 regarding the data from open-ended questions about the management of students’ activities.

The results showed that: 1.There were more female respondents = than male. About half were school administrators and teachers. Most of them graduated with a Master’s Degree, having more than ten years of experience. 2. Students’ activities administrators as a whole and each specific aspect of the activities were rated at a high level.

KEYWORDS: STUDENT’S ACTIVITIES ADMINISTRATION / THE GUIDELINES IN THE SECOND DECADE OF EDUCATION REFORM

Downloads

How to Cite

เลิศมานพ พ., & เจริญกุล น. (2014). การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. An Online Journal of Education, 9(3), 476–482. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20582