การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12

Authors

  • ขวัญชนก จุลนวล นิสิตมหาบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชญาพิมพ์ อุสาโห อาจารย์ประจาสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การบริหารโครงการ, การวางแผน, การนำแผนไปปฏิบัติ, การประเมินผล, โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์, PROJECT MANAGEMENT, PLANNING, IMPLEMENTATION, EVALUATION, ENRICHMENT SCIENCE CLASSROOM

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12 ประชากรผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอนนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ จำนวน 214 คน จากทั้งหมด 480 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง = 3.49, S.D. = 0.70) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การวางแผนโครงการมีสภาพการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากและมีระดับการปฏิบัติมากกว่าด้านอื่น = 3.64, S.D. = 0.75) รองลงมาคือการปฏิบัติตามแผนโครงการ = 3.51, S.D. = 0.76) ส่วนการประเมินผลโครงการ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง และมีระดับการปฏิบัติน้อยกว่าด้านอื่น = 3.32, S.D. = 0.81) 2) ปัญหาการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง = 2.86, S.D. = 0.79) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าปัญหาการบริหารโครงการอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยด้านการปฏิบัติตามแผน มีระดับปัญหามากกว่าด้านอื่น = 2.93, S.D. = 0.89) รองลงมาคือ การวางแผนโครงการ = 2.85, S.D. = 0.88) และด้านการประเมินผลโครงการ เป็นด้านที่เป็นปัญหาน้อยกว่าด้านอื่น = 2.81, S.D. = 0.88)

คำสำคัญ: การบริหารโครงการ, การวางแผน, การนำแผนไปปฏิบัติ, การประเมินผล, โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์

 

Abstract

The purposes of this research were to investigate the state and problems of project management of the science enrichment classroom in the schools under the jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office 12. The population in the research included 30 school principals and 214 teachers, which were selected from a total number of 480 teachers. The questionnaire was designed as a checklist and rating scale. The data was analyzed using frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation.

According to the research result, there were two main findings. First of all, it indicates that, overall, every process of the project management of the science enrichment classroom received the medium score = 3.49, S.D. = 0.70). Comparing each step of the project management, it can be seen that the project planning got the highest score in the rank = 3.64, S.D. = 0.75), followed by the implementation process = 3.51, S.D. = 0.76) , and the evaluation process = 3.32, S.D. = 0.81), respectively. Secondly, regarding the problems of the science enrichment classroom project management, the survey result shows that all processes also got the medium score = 2.86, S.D. = 0.79). Specifically, it illustrates that the implementation process is considered the main problem of the project management as it had the highest ranking = 2.93, S.D. = 0.89), followed by the planning process = 2.85, S.D. = 0.88), whereas the evaluation process fell slightly behind the planning process = 2.81, S.D. = 0.88)

Keywords: PROJECT MANAGEMENT / PLANNING / IMPLEMENTATION / EVALUATION / ENRICHMENT SCIENCE CLASSROOM

Downloads

How to Cite

จุลนวล ข., & อุสาโห ช. (2014). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12. An Online Journal of Education, 9(3), 494–506. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20589