การพัฒนารูปแบบหนังสือวรรณคดีไทยอิเล็กทรอนิกส์แบบเชื่อมโยงร่วมกับโซเชียลมีเดีย ตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

Authors

  • จิตรลดา คำนวนสิน นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จินตวีร์ คล้ายสังข์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, วรรณคดีไทย, โซเชียลมีเดีย, ทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน, ความเข้าใจในการอ่าน, E-BOOK, THAI LITERATURE, SOCIAL MEDIA, READER-RESPONSE THEORY, COMPREHENSION

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบหนังสือวรรณคดีไทยอิเล็กทรอนิกส์แบบเชื่อมโยงร่วมกับโซเชียลมีเดียตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้เชี่ยวชาญจานวน 8 คน โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาหรือความเข้าใจในการอ่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณคดีไทยหรือทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินรูปแบบ

ผู้วิจัยได้วิเคราะห์และสังเคราะห์จากศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดีไทย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โซเชียลมีเดีย ทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน และความเข้าใจในการอ่าน สรุปได้เป็นองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ องค์ประกอบของรูปแบบ ซึ่งประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงหลายมิติ 2) โซเชียลมีเดีย 3) โครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 4) มัลติมีเดีย 5) เนื้อหา 6) รูปแบบการสอนอ่าน และขั้นตอนหลัก 3 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นก่อนการอ่าน 2) ขั้นระหว่างการอ่าน และ 3) ขั้นหลังการอ่าน

คำสำคัญ: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์/วรรณคดีไทย/โซเชียลมีเดีย/ทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน/ความเข้าใจในการอ่าน

 

Abstract

The purpose of this research study was to develop a model of Thai literature hypermedia electronic book with social media based on reader-response theory to enhance the reading comprehension of elementary school students. The sample for the survey consisted of eight experts in the field of educational technology and e-books, Thai language reading comprehension, Thai literature, and reader-response theory. The research instruments consisted of the expert interview form and the model evaluation form.

The result of this study was the model comprised of six elements and three steps. The six elements were: (1) Hypermedia; (2) Social media; (3) E-book construction; (4) Multimedia; (5) Content; and 6) Reading strategy. The three steps were: (1) The pre-reading phase; (2) The during reading phase; (3) The post-reading phase.

KEYWORDS: E-BOOK/THAI LITERATURE/SOCIAL MEDIA/READER-RESPONSE THEORY/ COMPREHENSION

Downloads

How to Cite

คำนวนสิน จ., & คล้ายสังข์ จ. (2014). การพัฒนารูปแบบหนังสือวรรณคดีไทยอิเล็กทรอนิกส์แบบเชื่อมโยงร่วมกับโซเชียลมีเดีย ตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. An Online Journal of Education, 9(4), 1–12. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20687