ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อทักษะทางสังคมของเด็กในชุมชน
Keywords:
การละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น, ทักษะทางสังคม, เด็ก, INTEGRATING of FOLK PLAYS and LOCAL WISDOMSON, SOCIAL SKILLS, CHILDRENAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองที่ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PBL) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทักษะทางสังคมของเด็กในชุมชนบ้านหนอแต้ ตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ และ ศึกษาผลของจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุระหว่าง 9-12 ปี ในชุมชนบ้านหนองแต้ ตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1. แผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อทักษะทางสังคมของเด็กในชุมชน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยใช้ PAR และ PBL เป็นกิจกรรม 2. แบบวัดทักษะทางสังคมของเด็ก 3. แบบสังเกตทักษะทางสังคมของเด็ก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กในชุมชนบ้านหนองแต้ ตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ มีระดับทักษะทางสังคม อยู่ในระดับดี (xˉ = 86.73, S.D. = 10.65) 2) ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า การมีส่วนร่วมในการทางานกลุ่ม ทักษะการแก้ปัญหาในกลุ่ม ทักษะการช่วยเหลือผู้อื่น และทักษะการเป็นผู้นำและผู้ตาม เพิ่มขึ้นก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนั้นมีทักษะทางสังคมเพิ่มขึ้นในทุกๆ ด้านซึ่งเป็นผลมาจากการที่เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง
คำสำคัญ: การละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น/ทักษะทางสังคม/เด็ก
Abstract
This research is a quasi-experimental research, with the application of a Participatory Action Research (PAR) and Project-based Learning (PBL methodology). The objective of this study were to: 1) Study social skills of children, Ban Nong Tae in community, Non Khwang District, Buriram Province; 2) study effects of organizing participatory non-formal education activities integrating folk plays and local wisdom on the social skills of children in the community. The research sample groups comprised 30 children aged 9-12 years. The research instruments used were: 1) a plan of organizing participatory non-formal education activities to develop the integration of folk plays and the local wisdom social skills of children in the community as developed by the researcher; 2) a test of children's social skills; 3) social skills observation. These research instruments verified (Content validity) by five experts. The data were analyzed by using percentage, mean and standard deviation and t-test statistic.
This research found that: 1) Children in Ban Nong Tae community have a good social skills (xˉ = 86.73, S.D. = 10.65) 2) The effects of organizing participatory Non-Formal education activities to develop folk plays integrated with local wisdom social skills of children in the community were: the children that attended the activities had social skills of participation in working groups, problem-solving skills in group, skills to help others, and the skill of leader and follower, before attending the activity and after the attending were significantly different at the 0.05 level.
KEYWORDS: INTEGRATING of FOLK PLAYS and LOCAL WISDOMSON /SOCIAL SKILLS/CHILDREN