การประเมินการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนนาวังวิทยา จังหวัดอำนาจเจริญ
Keywords:
การประเมิน, การนำหลักสูตรไปใช้, หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์, โรงเรียนมัธยมศึกษา, EVALUATION, CURRICULUM IMPLEMENTATION, MATHEMATICS CURRICULUM, SECONDARY SCHOOLAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนนาวังวิทยา จังหวัดอำนาจเจริญ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนกลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รวมทั้งสิ้นจำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินการใช้หลักสูตรจำนวน 3 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) งานบริหารหลักสูตร ผลการประเมิน พบว่า การศึกษาวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรต่าง ๆ การเตรียมบุคลากรในโรงเรียน การจัดครูเข้าสอน การจัดตารางสอน และการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ แก่ผู้ใช้หลักสูตร ผู้บริหารมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการจัดบริการวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน การนิเทศติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร และการประชาสัมพันธ์หลักสูตรแก่ผู้ปกครองและชุมชน ผู้บริหารมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) งานสอน จากการประเมินของครูผู้สอนและนักเรียน ผลการประเมิน พบว่า การทำความเข้าใจหลักสูตรแกนกลางและปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น การวางแผนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร การพัฒนาและใช้สื่อการเรียนการสอน การจัดสอนซ่อมเสริม การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ครูผู้สอนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ: การประเมิน/การนำหลักสูตรไปใช้/หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์/โรงเรียนมัธยมศึกษา
Abstract
The research aimed to evaluate the mathematics curriculum implementation at the lower secondary level in Nawangwittaya school, Amnatcharoen province. The population of the research included administrators, teachers, and a sample of students studying in the lower secondary level; 170 in total. Three evaluation forms were administered as research instruments. The analysis was conducted by using frequency, percentage, mean, and standard deviation.
The results of the research were as follows: 1) Curriculum administration, the degree of curriculum analysis, curriculum clarification, teacher placement, teaching and learning schedule, media and material management, supervision and curriculum evaluation all were at the highest level. 2) The instruction tasks were evaluated by teachers and students, the degree of core curriculum clarification and adaptation with the local demand and state, lesson planning, learning procedure both in class and extra curriculum, development and uses of learning media and resources, remedial intervention as well as learning assessment and evaluation were at a high level.
KEYWORDS: EVALUATION/CURRICULUM IMPLEMENTATION/MATHEMATICS CURRICULUM/ SECONDARY SCHOOL