การพัฒนารูปแบบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนด้วยแท็บเล็ตตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา

Authors

  • สุนัชชา ศุภธรรมวิทย์ นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จินตวีร์ คล้ายสังข์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ชุดกิจกรรม, แท็บเล็ต, การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน, ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, TABLET BASED ACTIVITY, ACTIVITY PACKAGE, CREATIVE PROBLEM SOLVING ABILITY

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยอยู่ในช่วงของการวิจัยระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบฯมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาความคิดเห็นของรูปแบบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนด้วยแท็บเล็ตตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน ประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนระดับประถมศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินรูปแบบ

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สื่อการสอน (2) ผู้สอน(3) ผู้เรียน (4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ (5) การวัดและประเมินผล มีขั้นตอน 5 ขั้นได้แก่ (1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย(2) ขั้นกาหนดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ (3) ขั้นสร้างความรู้ที่แปลกใหม่ผ่านกิจกรรมกลุ่ม (4) ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ และ (5) ขั้นสรุปความรู้ ผลการประเมินรูปแบบพบว่า รูปแบบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนด้วยแท็บเล็ตตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานฯ มีความเหมาะสมในระดับมาก และมีความคิดเห็นต่อการนำรูปแบบไปใช้ในสถานการณ์จริงว่าควรระบุบทบาทหน้าที่ของผู้สอนให้ชัดเจน มีการติดตามการประเมินผลของนักเรียน และเลือกสถานการณ์ที่มีความหลากหลาย

คำสำคัญ: ชุดกิจกรรม / แท็บเล็ต / การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน / ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

 

Abstract

The purpose of this research was to develop a tablet based activity package to enhance creative problem solving ability of elementary school students. The subjects of the survey consisted of 8 experts in the field of educational technology, elementary education experts and creative problem solving experts. The research instruments consisted of an expert’s interview form and the model evaluation form.

The developed model consisted of five components as follows: (1) Instructional media; (2) Teachers; (3) Students; (4) Knowledge sharing; and (5) Measurement and evaluation. The tablet based activity package contained five steps as follows:(1) Class introduction with various activities; (2) Systematic design of the learning process; (3) Knowledge construction with group work; (4) Experience and knowledge sharing; and (5) Knowledge conclusion. The assessment showed that the experts had opinions for the use of the model in real situations to specify more clearly the role of teachers, to follow student evaluation and choose a diversity of situations to implement the activity package in order to enhance students’ problem solving ability.

KEYWORDS:TABLET BASED ACTIVITY / ACTIVITY PACKAGE / CREATIVE PROBLEM SOLVING ABILITY

Downloads

How to Cite

ศุภธรรมวิทย์ ส., & คล้ายสังข์ จ. (2014). การพัฒนารูปแบบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนด้วยแท็บเล็ตตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา. An Online Journal of Education, 9(4), 138–150. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20698