การศึกษาพฤติกรรมการนิเทศของครูประจำชั้น ตามความคาดหวังของครูผู้ช่วยระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนสถานศึกษานานาชาติ ISB (International School Bangkok)
Keywords:
พฤติกรรมการนิเทศการสอน, การนิเทศการสอน, ความคาดหวัง, โรงเรียนสถานศึกษานานาชาติ, INSTRUCTIONAL BEHAVIORS, INSTRUCTIONAL SUPERVISION, EXPECTATIONS, ISB, INTERNATIONAL SCHOOL BANGKOKAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการนิเทศของครูประจำชั้น ตามความคาดหวังของครูผู้ช่วยระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนสถานศึกษานานาชาติ ISB (International School Bangkok) 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการปฏิบัติงาน 2) ด้านการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน 3) ด้านการแก้ปัญหา 4) ด้านการเสริมแรง ซึ่งประชากร คือ ครูผู้ช่วยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 5 ของโรงเรียนสถานศึกษานานาชาติ ISB (International School Bangkok) ในปีการศึกษา 2556 - 2557 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) และแบบปลายเปิด (Open - ended)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการปฏิบัติงาน ครูผู้ช่วยคาดหวังให้ครูประจำชั้นให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ครูผู้ช่วยต้องปฏิบัติ เพื่อให้ครูผู้ช่วยรับทราบและยอมรับก่อน พฤติกรรมนี้เป็นการนิเทศแบบชี้นำให้ข้อมูล 2) ด้านการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน ครูผู้ช่วยคาดหวังให้การกาหนดมาตรฐานของการปฏิบัติงานเกิดจากครูประจำชั้นและครูผู้ช่วยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานร่วมกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมการนิเทศแบบร่วมมือ 3) ด้านการแก้ปัญหา ครูผู้ช่วยคาดหวังให้ครูประจำชั้นเสนอวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายให้แก่ครูผู้ช่วยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง ซึ่งเป็นพฤติกรรมการนิเทศแบบแบบชี้นำให้ข้อมูล 4) ด้านการเสริมแรง ครูผู้ช่วยคาดหวังให้ครูประจำชั้นคอยติดตามผลการปฏิบัติงานและให้ข้อมูลเพิ่มเติมเป็นระยะ เพื่อให้ครูผู้ช่วยเห็นความสาคัญของตนเองในการปฏิบัติงานร่วมกัน เป็นพฤติกรรมการนิเทศแบบชี้นำให้
คำสำคัญ: พฤติกรรมการนิเทศการสอน / การนิเทศการสอน / ความคาดหวัง / โรงเรียนสถานศึกษานานาชาติ
Abstract
The goal of this research was to study the supervisory behaviors of homeroom elementary teachers through the expectations of their instructional assistants (IAs). The International School Bangkok (ISB) employs IAs that work full time in one classroom, in Kindergarten through Grade 2, and IAs that work across two classrooms, splitting their time amonst Grades 3 through 5. The research was conducted with a subset of the IAs at ISB, including 22 IAs ranging from Grades 1 through 5. This research was conducted during the ISB academic school year, August 2013 to June 2014, and the data was collected through a checklist and open-ended questionnaire. The four primary areas of research were: (1) actual operations, (2) operational standards, (3) problem solving, and (4) reinforcement.
The results show that in the category of actual operation, Instructional Assistants expected homeroom teachers to inform the assistants in detail before having them execute tasks and complete assigned work. This behavior is called Directive Information Behaviors. In operational standards, IAs expected both teachers and assistants to set the standards together after thorough discussion and collaboration. When asked about problem solving, assistants expected teachers to provide numerous methods for assistants to choose from which were suitable when dealing with a problem, as suggested in the Directive Information Behaviors protocol. Finally, the research demonstrated that IAs expected teachers to follow the assistant’s operation when providing reinforcement and keep them progressively informed, so that the assistants realize their importance in collaboration, which is known as Directive Information Behaviors.
KEYWORDS: INSTRUCTIONAL BEHAVIORS / INSTRUCTIONAL SUPERVISION / EXPECTATIONS / ISB / INTERNATIONAL SCHOOL BANGKOK