การศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร ตามการรับรู้ของครูและผู้บริหาร
Keywords:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, พฤติกรรมภาวะผู้นำ, TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP, LEADERSHIP BEHAVIORSAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนใน สหวิทยาเขตเบญจบูรพาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร ตามการรับรู้ของครูและผู้บริหาร 2) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยา เขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร ตามการรับรู้ของครูและผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 21 คน เป็นครูจำนวน 229 คน ในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับและมีความสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 93.2 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ผลการวิจัยพบว่า ตามการรับรู้ของผู้บริหารในภาพรวม มีการรับรู้ต่อการปฏิบัติพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรวมทุกองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอยู่ในระดับมากที่สุด และตามการรับรู้ตามองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ในภาพรวมของแต่ละองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด ตามการรับรู้ของครูในภาพรวม ผู้บริหารมีพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรวมทุกองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ในภาพรวมของแต่ละองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ตามการรับรู้ของครูและผู้บริหาร ในทุกด้านพบว่า มีการรับรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
คำสำคัญ: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง / พฤติกรรมภาวะผู้นำ
Abstract
The purposes of this research were : 1) to study the transformational leadership behavior of school administrators in Benjaburapha Subarea in the Secondary Educational Service Area office 2, Bangkok, as perceived by teachers and school administrators 2) to compare the level of transformational leadership behavior of school administrators in Benjaburapha subarea in the Secondary Educational Service Area office 2, Bangkok, as perceived by teachers and school administrators. The sample population comprised 21 school administrators and 229 teachers in Benjaburapha sub-area administrator in the Secondary Educational Service Area office 2. 93.2 percent of the questionnaires were completed. The research instrument was a set of rating scales questionnaires. The research results were as follows. Overall, the perception of the school administrators concerning perceived the transformational leadership behavior consisting of all individual behavior aspects was rated the highest. Moreover, while considering each of the 4 aspects : idealized influence, inspirational creation, intellectual stimulation and individualized consideration, the transformational leadership behaviour of school administrators was also at the highest level. Over all, in the perception of teachers, the school administrators had transformational leadership behavior including all behavior aspects, at the high level. Moreover, while considering each aspect ; the transformational leadership behaviour of school administration was also at the high level. In addition, comparing the transformational leadership behavior of school administrators as by perceived the teachers and administrators, in all aspects, were significantly different at .05 level.
KEYWORDS: TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP / LEADERSHIP BEHAVIORS