สภาพและปัญหาการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของครูอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2

Authors

  • เสาวลักษณ์ วรรณศิริ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศศิลักษณ์ ขยันกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย, ครูอนุบาล, สภาพและปัญหา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของครูอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนการจัดประสบการณ์ ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้และด้านการวัดและประเมินผล ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูอนุบาลที่เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สภาพการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของครูอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (M = 4.31) เมื่อพิจารณารายละเอียดรายด้านพบว่า ด้านการวัดและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติสูงสุด (M = 4.36) รองลงมาคือ ด้านการวางแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ (M = 4.32) และด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ (M = 4.25) ปัญหาที่พบ ได้แก่ ครูขาดความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้และคุณลักษณะตามวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ขาดแคลนงบประมาณ ไม่ทราบเกณฑ์การประเมินโครงงาน เด็กเลือกหัวข้อตามเพื่อน ตั้งสมมุติฐานไม่เป็น ขาดทักษะการสืบค้นข้อมูล และเด็กไม่สามารถสรุปสิ่งที่ได้เรียนมาด้วยตนเองได้

References

กนกวรรณ พิทยะภัทร. (2556). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็ก ปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5 E. [วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จรรยา ดาสา. (2562). โครงงานตามแนวทางนักวิทย์น้อย. นานมีบุ๊กส์.

จรรยา ดาสา และ ณวรา สีที. (2560). การเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สาหรับเด็กปฐมวัยผ่านการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการสืบเสาะ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 343-355.

ชลาธิป สมาหิโต และ อุไรวาส ปรีดีดิลก. (2559, 27 เมษายน). ตอบขอสงสัยเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน. earlychildhood.ipst. http://earlychildhood.ipst.ac.th/?p=18910

ชุลีพร สงวนศรี. (2550). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาเด็กปฐมวัยกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์.[เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์], คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

เทพกัญญา พรหมขัติแกว. (2559, มีนาคม 17). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวทางโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย. earlychildhood.ipst. http://earlychildhood.ipst.ac.th/wpcontent/uploads/sites/25/2016/03/บทความโครงงานตามแนวทางของโครงการบ้านนักวิทย์-17-มีค-16.pdf

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563, มีนาคม 20). กรอบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย. Scimath. https://www.scimath.org/ebook-science/item/11322-2020-03-05-01-33-35

สำนักงานการศึกษาภาคบังคับ. (2561). การศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย).โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Broström, S. (2015). Science in early childhood education. Journal of Education and Human Development, 4(2), 107-124. https://doi.org/10.15640/jehd.v4n2_1a12

Trundle, K. (2014, June 3). Teaching Science during the Early Childhood Years. Researchgate. Https://www.researchgate.net/publication/237342472_Teaching_Science_During_the_Early_Childhood_Years

Bender, W. (2012). Project-Base learning: differentiating Instruction for the 21st Century. SAGE.

Downloads

Published

2021-10-26

How to Cite

วรรณศิริ เ. ., & ขยันกิจ ศ. . (2021). สภาพและปัญหาการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของครูอนุบาลในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. An Online Journal of Education, 16(2), OJED1602016 (14 pages). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/248848