ผลของการเรียนการสอนบนเว็บด้วยสถานการณ์จำลองแบบปรับเหมาะ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิต นักศึกษา คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ THE EFFECTS OF WEB-BASED INSTRUCTION WITH ADAPTIVE SIMULATIONS TO ENHANCE PROBLEM-SOLVING ABILITY OF PRE-SERVICE TEACHER
Keywords:
สถานการณ์จำลองแบบปรับเหมาะ, สถานการณ์จำลอง, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ADAPTIVE SIMULATIONS, SIMULATIONS, PROBLEM-SOLVING ABILITYAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิต นักศึกษา คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ กลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนบนเว็บด้วยสถานการณ์จำลองแบบปรับเหมาะ และเปรียบเทียบผลของความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิต นักศึกษา คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ก่อนและหลังเรียนที่เรียนด้วยการเรียน การสอนบนเว็บด้วยสถานการณ์จำลองแบบปรับเหมาะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ปีการศึกษา 2556 จำนวน 20 คน ซึ่งเรียนด้วยการเรียนการสอนบนเว็บด้วยสถานการณ์จำลองแบบปรับเหมาะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ การเรียนการสอนบนเว็บด้วยสถานการณ์จำลองแบบปรับเหมาะ แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา ก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจหลังเรียน นำผลที่ได้จากการทดลองมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยการเรียนการสอนบนเว็บด้วยสถานการณ์จำลองแบบปรับเหมาะ มีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research were. 1) to study the problem-solving ability of pre-service teachers who learnt using web-based instruction with adaptive simulations and 2) to compare the ability in problem- solving test of pre-service teachers who learnt using web-based instruction with adaptive simulations. The twenty 2nd year undergraduate students at Pibulsongkram Rajabhat University were selected by random sampling for this research. The research instruments were web-based instruction with adaptive simulations, problem-solving ability test and a satisfaction evaluation form. The statistical data utilized in the study comprised arithmetic mean ( ), standard deviation (S.D.) and t-test.
The research results were as follows: The posttest of problem solving ability of pre-service teachers who learnt using web-based instruction with adaptive simulations were significantly higher than the pretest of problem solving ability at the .05 level.