การศึกษาการดำเนินงานของโรงเรียนมัธยมศึกษานำร่องในโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน THE OPERATION OF PILOT SECONDARY SCHOOLS UNDER THE SPIRIT OF ASEAN PROJECT OF THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSIO

Authors

  • อนรรฆ สมพงษ์ นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

โครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน, THE SPIRIT OF ASEAN PROJECT

Abstract

การวิจัยวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงาน ในด้าน การบริหารงาน ด้านการจัดการเรียนการสอน และการประเมินคุณลักษณะนักเรียน ของโรงเรียนมัธยมศึกษานำร่องในโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ครูทุกกลุ่มสาระ ครูพัฒนากิจกรรมนักเรียน และนักเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 580 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบสำรวจ

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้บริหารส่วนใหญ่จัดให้มีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เน้นเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน และใช้งบประมาณของโรงเรียนเอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีบทบาทในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน 2) ครูส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ครูค้นคว้าเนื้อหาเพิ่มเติมเอง ใช้สื่อที่มีอยู่ และจัดหามาเอง มีการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในรายวิชาที่สอน ส่วนใหญ่ใช้วิธีการบรรยาย และครูเป็นผู้ประเมินหลักจากแบบฝึกหัดและใบงาน สำหรับคุณลักษณะของนักเรียน ครูรับรู้ว่านักเรียนมีความรู้ดี มีทักษะ/กระบวนการดี และมีเจตคติที่ดี ส่วนนักเรียนรับรู้ว่ามีความรู้ปานกลาง มีทักษะ/กระบวนการดี และมีเจตคติที่ดี 3) ปัญหาที่สำคัญของโรงเรียนคือ งบประมาณและสื่อที่ได้รับการจัดสรรไม่เพียงพอ ครูและบุคลากรประจำศูนย์อาเซียนศึกษาขาดความรู้เรื่องประชาคมอาเซียน และเนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในหลักสูตรสถานศึกษายังไม่ชัดเจน มีแนวทางแก้ปัญหาคือ การจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ การเสริมความรู้โดยการจัดอบรมสัมมนาให้กับครูและเจ้าหน้าที่ และบุคลากรทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร

 

This study aims to study the state and problems of operations in the aspect of administration, instructional management and student characteristics evaluation in Pilot Secondary Schools under the Spirit of ASEAN Project. The sample group was totally 580 consisted of school administrators, teachers in all subject areas, teachers in charge of student activities and students. The research tools were three sets of questionnaire and a survey form.

The research results were as follows: 1) Most administrators followed-up the project operation continuously, focusing on instructional classroom activities and spent their own school's budget. The Office of the Basic Education Commission and Educational Service Area Offices played roles in promotion and support. 2) Most teachers participated in the school curriculum development. Teachers searched for extra information, used state-provided instructional media and their own media. ASEAN Community was infused in all subject areas and lecture was mostly used. Teachers were main evaluators through exercises and worksheet. Teachers perceived that the students had good knowledge, skills/processes and positive attitudes toward ASEAN Community; while students perceived that they had moderate levels of knowledge, good skills/processes and positive attitudes. 3) The main problems of the schools were inadequate budget and media allotment, lack of knowledgeable teachers and personnel in ASEAN Community contents as well as inexplicit school curriculum about ASEAN. The problem solutions were allotment of adequate budget, providing workshops and training for teachers and personals, including encouraging school personnel participation in curriculum development planning.

Downloads

How to Cite

สมพงษ์ อ., & อิศรางกูร ณ อยุธยา ว. (2014). การศึกษาการดำเนินงานของโรงเรียนมัธยมศึกษานำร่องในโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน THE OPERATION OF PILOT SECONDARY SCHOOLS UNDER THE SPIRIT OF ASEAN PROJECT OF THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSIO. An Online Journal of Education, 9(1), 28–41. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/27770