ผลของการอภิปรายแบบสืบสอบร่วมกันที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีต่อ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 EFFECTS OF USING SHARED INQUIRY DISCUSSION METHOD USING SOCIAL NETWORK ON CRITICAL THINKING SKILL OF

Authors

  • ชัชนิ พรพิพัฒน์ นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ฉัตรวรรณ์ ลัญฉวรรธนะกร อาจารย์ประจำสาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การอภิปรายแบบสืบสอบร่วมกัน, เครือข่ายสังคมออนไลน์, CRITICAL THINKING SKILL, SHARED INQUIRY DISCUSSION METHOD, SOCIAL NETWORK

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้วิธีการอภิปรายแบบสืบสอบร่วมกันในเครือข่ายสังคมออนไลน์ 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่ใช้วิธีการอภิปรายแบบสืบสอบร่วมกันในเครือข่ายสังคมออนไลน์กับกลุ่มที่ใช้วิธีการอภิปรายแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการอภิปรายแบบสืบสอบร่วมกันในเครือข่ายสังคมออนไลน์ จำนวน 5 แผน แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการอภิปรายแบบปกติในเครือข่ายสังคมออนไลน์ จำนวน 5 แผน แบบสอบความสามารถทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้ใช้วิธีการอภิปรายแบบสืบสอบร่วมกันในเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการพัฒนาทักษะการคิดวิจารณญาณสูงกว่าก่อนได้รับการใช้วิธีการอภิปรายแบบสืบสอบร่วมกันในเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้ใช้วิธีการอภิปรายแบบสืบสอบร่วมกันในเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีทักษะการคิดวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนที่ใช้วิธีการอภิปรายแบบปกติในเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The purposes of this research study were to: 1) compare students’ critical thinking skill scores between before and after using the shared inquiry discussion method using social network, and 2) compare critical thinking skill scores between 2 groups of students, one joined in the shared inquiry discussion method and another joined in the traditional discussion method on social networks. The research instruments were five lesson plans using the shared inquiry discussion method using social networks, five lesson plans using the traditional discussion method using social networks and critical thinking skill test. The data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation and t-test.

The results were as follows: 1) The students who joined in the shared inquiry discussion method using social networks had higher post-test mean scores in the critical thinking skill than the pre-test mean scores at the .05 level of significance. 2) The students who joined in the shared inquiry discussion method using social networks had higher post-test mean scores in the critical thinking skill than the students who used the discussion method using social networks at the .05 level of significance

Downloads

How to Cite

พรพิพัฒน์ ช., & ลัญฉวรรธนะกร ฉ. (2014). ผลของการอภิปรายแบบสืบสอบร่วมกันที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีต่อ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 EFFECTS OF USING SHARED INQUIRY DISCUSSION METHOD USING SOCIAL NETWORK ON CRITICAL THINKING SKILL OF. An Online Journal of Education, 9(1), 71–80. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/27773