ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการสร้างมโนทัศน์ของ CANGELOSI ที่มีต่อความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 EFFECTS OF ORGANIZING MATHEMATICS LEARNING A

Authors

  • ภูมิฤทัย วิทยวิจิน นิสิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
  • สมยศ ชิดมงคล อาจารยประจําสาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

Keywords:

กลวิธีการสร้างมโนทัศน์ของ CANGELOSI, มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์, ความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์, ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์, CANGELOSI’S CONCEPT CONSTRUCTING STRATEGY, MATHEMATICAL CONCEPT, MATHEMATICAL LEARNING RETENTION, REASONING ABILITY

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์นักเรียนกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ โดยนักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการสร้างมโนทัศน์ของ CANGELOSI และนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 2) แบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการสร้างมโนทัศน์ของ CANGELOSI และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The purposes of this research were 1) to compare the learning retentions of students in the experimental and control group, 2) to compare mathematical reasoning abilities of students before and after the intervention, and 3) to compare mathematical reasoning abilities of students in the experimental group and control group. The experimental group was taught using mathematics learning activities based on Cangelosi’s concept constructing strategy while the control group received conventional mathematics instruction. The instruments of data collection were mathematics achievement tests, and mathematical reasoning ability tests.

The results of the study revealed that 1) the learning retention of students in the experimental group was higher than that of students in the control group at the .05 level of significance, 2) the mathematical reasoning ability of students after the intervention was significantly higher than that before at the .05 level, and 3) the mathematical reasoning ability of students in the experimental group was higher than that of students in the control group at the .05 level of significance.

Downloads

How to Cite

วิทยวิจิน ภ., & ชิดมงคล ส. (2014). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการสร้างมโนทัศน์ของ CANGELOSI ที่มีต่อความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 EFFECTS OF ORGANIZING MATHEMATICS LEARNING A. An Online Journal of Education, 9(1), 81–91. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/27774