ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Authors

  • หทัยรัตน์ ยศแผ่น นิสิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สมยศ ชิดมงคล อาจารย์ประจาสาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้, มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์, ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์, SCAFFOLDING LEARNING STRATEGIES, MATHEMATICAL CONCEPTS, MATHEMATICAL COMMUNICATION ABILITY

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้กับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ 4) เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยธนบุรี กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จานวน 98 คน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลองจานวน 48 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมจานวน 50 คน โดยนักเรียนกลุ่มทดลองได้กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ และนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่าที่กาหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ คือ สูงกว่า ร้อยละ 50 ของคะแนนที่ได้จากแบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียน 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีมโนทัศน์และความสามารถใน การสื่อสารทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ดีขึ้น มีพัฒนาการของมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ไปในทางที่ดีขึ้น

 

The aims of the research were 1) to study the mathematical concepts of students being taught by organizing mathematics learning activities using scaffolding learning strategies, 2) to compare the mathematical communication abilities of students before and after learning by organizing mathematics learning activities using scaffolding learning strategies, and 3) to compare the mathematical concepts and mathematical communication abilities of students being taught by organizing mathematics learning activities using scaffolding learning strategies with those of students taught by conventional learning activities. 4) to study the progress of the mathematical concepts and mathematical communication abilities of students being taught by organizing mathematics learning activities using scaffolding learning strategies. The subjects were 98 eighth-grade students in the second semester of the 2013 academic year at Suankularb Wittayalai Thonburi School. There were 48 students in the experimental group and 50 students in the control group. The experimental group was taught by the organizing mathematics learning activities using scaffolding strategies, while the control group was taught by organizing mathematics learning activities using conventional methods. The results of the study revealed that 1) the mathematical concepts of students in the experimental group were higher than the minimum criteria of 50 percent. 2) The mathematical communication ability of students in the experimental group was higher than that before the instruction at the .05 level of significance. 3) The mathematical concepts and mathematical communication abilities of students in the experimental group were higher than those of the students in the control group at the .05 level of significance. 4) The mathematical concepts and mathematical communication abilities of students in the experimental group were developed in positive direction.

Downloads

How to Cite

ยศแผ่น ห., & ชิดมงคล ส. (2014). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. An Online Journal of Education, 9(1), 92–104. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/28605