ผลของการใช้คำถามตามทฤษฎีของบลูมที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอายุ 7 ปี EFFECTS OF USING QUESTIONS BASED ON BLOOM’S TAXONOMY THEORY ON CREATIVE THINKING SKILLS OF SEVEN YEAR OLD CHILDREN

Authors

  • พิมลวรรณ์ จิตโตภาษ นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วรวรรณ เหมชะญาติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การใช้คำถาม, ทฤษฎีของบลูม, ความคิดสร้างสรรค์, เด็กอายุ 7 ปี, USING QUESTIONS, BLOOM’S TAXONOMY THEORY, CREATIVE THINKING SKILLS, SEVEN YEAR OLD CHILDREN

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนโดยใช้คำถามตามทฤษฎีของบลูมที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอายุ 7 ปี  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอายุ 7 ปี  จำนวน 30 คน  ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 6 สัปดาห์  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยภาษา ฉบับ ก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

          ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ของเด็กโดยรวมสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง  โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนการทดลองคือ ด้านความคิดยืดหยุ่น ( = 17.40)  ด้านความคิดละเอียดลออ  ( = 10.13)  ด้านความคิดคล่องแคล่ว ( = 10.13)  และด้านความคิดริเริ่ม ( = 8.13)  และด้านที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการทดลองสูงสุดคือ ด้านความคิดยืดหยุ่น ( = 44.23)  ด้านความคิดละเอียดลออ  ( = 37.70)  ด้านความคิดคล่องแคล่ว ( = 23.93)  และด้านความคิดริเริ่ม ( = 20.37)  ตามลำดับ

 

The purpose of this research was to study the effects of using questions based on Bloom’s Taxonomy theory on creative thinking skills of seven year old children.  Population was 30 seven year old children.  The research duration was 6 weeks.  The research instrument was the linguistic creativity test A.  The data was statistically analyzed by mean and standard deviation.

           The research results found that after the experiment, the mean scores of creativity in overall picture was higher than those of before the experiment. According to each area of creativity, the result showed that before the experiment was flexibility ( = 17.40), elaboration ( = 10.13), fluency ( = 10.13), and originality ( = 8.13). The result showed that after the experiment, the area which had the highest mean scores was flexibility ( = 44.23), elaboration ( = 37.70), fluency ( = 23.93), and originality ( = 20.37) respectively.

Downloads

How to Cite

จิตโตภาษ พ., & เหมชะญาติ ว. (2014). ผลของการใช้คำถามตามทฤษฎีของบลูมที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอายุ 7 ปี EFFECTS OF USING QUESTIONS BASED ON BLOOM’S TAXONOMY THEORY ON CREATIVE THINKING SKILLS OF SEVEN YEAR OLD CHILDREN. An Online Journal of Education, 9(1), 256–267. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/34794