ผลของการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาไทยโดยใช้กลวิธีเอสคิวพีทูอาร์เอส ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการตอบสนองต่อวรรณกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 EFFECTS OF ORGANIZING THAI READING ACTIVITIES BY USING SQP2RS STRATEGY ON READING COMPREHENSION A
Keywords:
กลวิธีเอสคิวพีทูอาร์เอส, ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ, ความสามารถในการตอบสนองต่อวรรณกรรม, SQP2RS STRATEGY, READING COMPREHENSION ABILITY, LITERATURE RESPONDING ABILITYAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาไทยโดยใช้กลวิธี
เอสคิวพีทูอาร์เอสกับการจัดกิจกรรมการอ่านภาษาไทยแบบปกติที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและพัฒนาการการตอบสนองต่อวรรณกรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 78 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองซึ่งจัดกิจกรรมการอ่านภาษาไทยโดยใช้กลวิธีเอสคิวพีทูอาร์เอส และกลุ่มควบคุมซึ่งจัดกิจกรรมการอ่านภาษาไทยแบบปกติ กลุ่มละ 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและแบบบันทึกการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้วรรณกรรมพื้นบ้านโดยใช้กลวิธีเอสคิวพีทูอาร์เอสและแผนการจัดการเรียนรู้วรรณกรรมพื้นบ้านแบบปกติ ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 32 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบค่า t (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนเมื่อมีการวัดซ้ำ (repeated measure ANOVA)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กลุ่มทดลองมีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองมีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มทดลองมีพัฒนาการด้านความสามารถในการตอบสนองต่อวรรณกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) กลุ่มทดลองมีพัฒนาการด้านความสามารถในการตอบสนองต่อวรรณกรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research were to study and compare the effects of organizing Thai reading activities by using the SQP2RS strategy on the development of reading comprehension and literature response abilities of eight grade students. The subjects were 78 eight grade students in semester 2 academic year 2013 at Hongsonsuksa school under the royal patronage in Meahongson. These subjects were divided into two groups; an experimental group which organizes Thai reading activities by using the SQP2RS strategy and a control group organizing Thai reading activities by using conventional instruction. There were 39 students per each group. The instruments for collecting data were reading comprehension ability test and literature response journal. The instruments for experiment were SQP2RS strategy lesson plans and conventional instruction lesson plans. The duration of the experiment was eight weeks. The total was 32 periods. The collected data were analyzed by arithmetic means, standard deviation, t-test and repeated measure ANOVA.
The results were as follows: 1) Experimental group had higher reading comprehension ability after experiment than before stating an experiment at a .05 level of significance. 2) Experimental group had higher reading comprehension ability than control group at a .05 level of significance. 3) Experimental group had literature response ability growth at a .05 level of significance. 4) Experimental group had higher literature response ability growth than control group at a .05 level of significance.