การใช้คลังคำในรูปแบบสิ่งพิมพ์เป็นสื่อการสอนเพื่อพัฒนาความรู้ด้านไวยากรณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 THE USE OF PAPER–BASED CORPUS AS INSTRUCTIONAL MATERIAL TO ENHANCE THE GRAMMATICAL KNOWLEDGE OF GRADE 7 STUDENTS
Keywords:
คลังคำ, การเรียนรู้ด้วยวิธีข้อมูลขับเคลื่อน, การสอนแบบอุปนัย, CORPUS, DATA–DRIVEN LEARNING, INDUCTIVE TEACHINGAbstract
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการใช้คลังคำในรูปแบบสิ่งพิมพ์เพื่อพัฒนาความรู้ด้านไวยากรณ์ของนักเรียนชั้นมันธยมศึกษาปีที่ 1และ 2)ประเมินความพึงพอใจในการใช้คลังคำในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อการสอนเพื่อพัฒนาความรู้ด้านไวยากรณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง Intensive English Course (IEC) ของโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้คลังคำแผนการสอนและคลังคำในรูปแบบสิ่งพิมพ์ รวมทั้งแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่ผ่านการใช้คลังคำในรูปแบบของสิ่งพิมพ์เป็นสื่อการสอนเพื่อพัฒนาความรู้ด้านไวยากรณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ Paired Sample T – Test, Mean และ Standard Deviation
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบหลังการใช้คลังคำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการใช้คลังคำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลจากแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่ผ่านการใช้คลังคำในรูปแบบของสิ่งพิมพ์เป็นสื่อการสอนเพื่อพัฒนาความรู้ด้านไวยากรณ์แสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยร้อยละของความการวัดความพึงพอใจคือร้อยละ 82.64 ซึ่งหมายความว่านักเรียนมีความพึงพอใจอย่างมากเมื่อใช้คลังคำในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อการสอนเพื่อพัฒนาความรู้ด้านไวยากรณ์
The objectives of this study were 1) to investigate to what extent a paper-based corpus as instructional material helps enhance students’ grammatical knowledge; and 2) to explore students’ opinions towards using a paper-based corpus as instructional material to enhance their grammatical knowledge. The sample included 50 students studying in the Intensive English Course (IEC) program of grade 7 at Wattana Wittaya Academy. The instruments were a pre-test prior to using the paper–based corpus, a lesson plan and a paper–based corpus, and a post-test after using the paper–based corpus, as well as a questionnaire about using the paper–based corpus as instructional material. The statistics used for analysis were a Paired Sample T–test, Means and Standard Deviation.
The findings of the study revealed that 1) mean scores of the post-test after using a paper–based corpus were higher than those of the pre-test at a0.05 level of significance; and 2) the result of the questionnaire revealed that the average percentage of the satisfaction evaluation was 82.64%, which meant that the students were stronglysatisfied with using a paper–based corpus as instructional material to enhance grammatical knowledge.