ผลของการเรียนรู้ชุมชนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ที่มีต่อมโนทัศน์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม และเจตคติต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4

Authors

  • ปกิต วิเศษปัดสา นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การเรียนรู้ชุมชนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน, มโนทัศน์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม, เจตคติต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย, RESEARCH-BASED COMMUNITY LEARNING, CONCEPTS OF SOCIAL AND CULTURAL CHANGE, ATTITUDES TOWARDS THE CONSERVATION OF THAI CULTURE

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เปรียบเทียบมโนทัศน์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการเรียนรู้ชุมชนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบเจตคติต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการเรียนรู้ชุมชนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 16 คน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบทดสอบมโนทัศน์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.66         2) แบบวัดเจตคติต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา ส 31211 เสน่ห์บางกอก โดยการเรียนรู้ชุมชนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน จำนวน 6 หน่วยการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t ความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนการเรียนรู้ชุมชนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2) นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนการเรียนรู้ชุมชนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสรุปนักเรียนมีเจตคติที่ดี เห็นคุณค่าของชุมชน มีความภูมิใจและถือเป็นหน้าที่ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

 

The purposes of this research were to compare the concepts of social and cultural change of tenth grade students before and after being taught using research-based community learning and to compare the attitudes towards the conservation of Thai culture in tenth grade students before and after being taught with a research-based community learning method. The participants were sixteen tenth grade students at the Chulalongkorn University Demonstration Secondary School. Data collecting instruments included tests of social and cultural change concepts which was found to have a reliability of 0.66 while the test of students’ attitudes had a reliability of 0.75. Six lesson plans entitled “SO31211 ALL ABOUT BANGKOK” were used as the experimental instruments. The t-test, arithmetic mean, standard deviation, frequencies and content analysis were utilized as data analysis.

The research results were as follows: 1) the posttest scores of students concepts of social and cultural change who had studied using research-based community learning were higher than pretest scores at a .01 level of significance  and 2) the posttest scores of attitudes towards the conservation of Thai culture in students who studied using research-based community learning were higher than pretest scores at the .01 level of significance. To sum up, students had good attitudes, valued community and Thai culture and were responsible for Thai culture conservation.

Downloads

How to Cite

วิเศษปัดสา ป., & อิศรางกูร ณ อยุธยา ว. (2014). ผลของการเรียนรู้ชุมชนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ที่มีต่อมโนทัศน์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม และเจตคติต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. An Online Journal of Education, 9(1), 399–412. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/34804