การประยุกต์ใช้วิธีการอ้างเหตุผลโดยอิงโมเดลราชในการตรวจสอบความตรงของแบบสอบสามัตถิยะคำปรากฎร่วมเชิงวิชาการสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ

Authors

  • อภิชาติ คำบุญเรือง นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จิรดา วุฑฒยากร อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

วิธีการอ้างเหตุผล, วิธีการวัดแบบโมเดลราช, แบบสอบสามัตถิยะคำปรากฏร่วมเชิงวิชาการ, ARGUMENT-BASED APPROACH, RASCH MEASUREMENT APPROACH, ACADEMIC COLLOCATIONAL COMPETENCE TEST

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์วิธีการอ้างเหตุผลโดยอิงโมเดลราชในการตรวจสอบความตรงขั้นต้นของแบบสอบสามัตถิยะคำปรากฎร่วมเชิงวิชาการ  แบบสอบนี้พัฒนาขึ้นโดยใช้คำปรากฎร่วมกริยาและนามที่มีความถี่สูงจากภาษาเขียนเชิงวิชาการในหลายสาขาที่อยู่ในคลังข้อความ British National Corpus  แบบสอบนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นแบบสอบจัดระดับแบบอิงกลุ่มเพื่อวัดสามัตถิยะคำปรากฎร่วมเชิงรับของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 193 คน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โมเดลราช  ผลการวิเคราะห์พบว่า วิธีการวัดโมเดลราชให้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เพียงพอและน่าเชื่อถือในการสนับสนุนเหตุผลความตรงของแบบสอบ  การแปลผลคะแนนของแบบสอบมีความสมเหตุสมผลเนื่องจากหลักฐานที่ได้จากโมเดลราช ได้แก่ ความเป็นเอกมิติ ความเที่ยงของข้อสอบ (0.96) ความเที่ยงของผู้สอบ (0.86) และ การประมาณค่าพารามิเตอร์ของข้อคำถาม

 

The purpose of this study was to apply a Rasch-based argument approach to build the preliminary validity argument for the Academic Collocational Competence Test (ACCT). The ACCT was developed using high-frequency verb-noun collocations from varying domains of the academic written discourse in the British National Corpus (BNC) and designed primarily as a norm-referenced placement test of receptive collocational competence of EFL graduate students. A total of 193 students at Chulalongkorn University, Thailand, participated in this study. Several The data were analysed using a Rasch model. Results revealed that a Rasch measurement approach provided sound and sufficient empirical evidence in support of the validity argument for the ACCT. The ACCT score interpretation was reasonably substantiated by Rasch evidence related to unidimensionality, item reliability (0.96), person reliability (0.86), and item parameter estimation.

Downloads

How to Cite

คำบุญเรือง อ., & วุฑฒยากร จ. (2014). การประยุกต์ใช้วิธีการอ้างเหตุผลโดยอิงโมเดลราชในการตรวจสอบความตรงของแบบสอบสามัตถิยะคำปรากฎร่วมเชิงวิชาการสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ. An Online Journal of Education, 9(1), 443–457. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/34807