ผลของการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ของเล่นพื้นบ้านตามแนวคิดการประมวลข้อมูลการรับความรู้สึกเพื่อส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กอนุบาล

Authors

  • วรรณวิภา เที่ยงธรรม นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อัญญมณี บุญซื่อ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

กิจกรรมนอกห้องเรียน, การประมวลข้อมูลการรับความรู้สึก, ของเล่นพื้นบ้าน, ทักษะการเคลื่อนไหว, เด็กอนุบาล, OUTDOOR ACTIVITY, SENSORY INTEGRATION, TRADITIONAL TOYS, MOTOR SKILLS, KINDERGARTENERS

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ของเล่นพื้นบ้านตามแนวคิดการประมวลข้อมูลการรับความรู้สึกเพื่อส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กอนุบาลใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ ด้านการจัดการร่างกาย และด้านการควบคุมอุปกรณ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ของเล่นพื้นบ้านตามแนวคิดการประมวลข้อมูลการรับความรู้สึก และการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนแบบปกติทีมีต่อทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กอนุบาล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเทพกาญจนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร จำนวน 34 คน จาก
การคัดเลือกโดยใช้แบบคัดกรอง กลุ่มทดลองใช้การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ของเล่นพื้นบ้านตามแนวคิดการประมวลข้อมูลการรับความรู้สึก กลุ่มควบคุมใช้การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนแบบปกติ ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเคลื่อนไหว ด้านการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ การจัดการร่างกาย และการควบคุมอุปกรณ์ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเคลื่อนไหว ด้านการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ การจัดการร่างกาย และการควบคุมอุปกรณ์ สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

The purposes of this research were 1) study the effects of using outdoor activity by using traditional toys based on sensory integration approach to promote motor skills in area of locomotion skills, body-management skills and object Control skills of pre-experimental and post-experimental kindergarteners. 2) compare the organizing outdoor activity by using traditional toys based on sensory integration approach and organizing outdoor activity based on Early Childhood Education curriculum to promote motor skills. The populations were 34 second level kindergarteners from Tepkanchana school under the Office of the Private Education Commission. Selection population of the screening test. The experimental group used organizing outdoor activity based on sensory integration approach and control group used organizing outdoor activity based on normal outdoor activity. The research duration was 10 weeks. The research instrument was the motor skills test for kindergartener integration approach. The data was statistically analyzed by using the mean, standard deviation and t-test

The research results were as follows: 1) After the experiment, the experimental group had the motor skills of kindergarteners in area of locomotion skills, body-management skills and object control skills mean scores higher than before the experiment at .01 significant level 2) After the experiment, the experimental group had the motor skills of kindergarteners in area of locomotion skills, body-management skills and object control skills mean scores higher than that of control group at .01 significant level

Downloads

How to Cite

เที่ยงธรรม ว., & บุญซื่อ อ. (2014). ผลของการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ของเล่นพื้นบ้านตามแนวคิดการประมวลข้อมูลการรับความรู้สึกเพื่อส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กอนุบาล. An Online Journal of Education, 9(1), 473–487. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/34809