การจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาลโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน:การปฏิบัติที่เป็นเลิศ ของโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ INSTRUCTIONAL MANAGEMENT OF PRESCHOOL ON A LITERATURE BASED APPROACH: BEST PRACTICE OF TUNGMAHAMEK SCHOOL

Authors

  • ปรตา หวังดุล นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อัญญมณี บุญซื่อ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน, อนุบาล, LITERATURE BASED APPROACH, KINDERGARTEN

Abstract

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาการจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาลโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานของศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ 4 ด้าน คือ การวางแผนการสอน การจัดกิจกรรม สื่อและสภาพแวดล้อม  และการประเมินผล ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ระดับชั้นอนุบาล ของโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสังเกต  แบบสัมภาษณ์ และแบบวิเคราะห์เอกสาร

ผลการวิจัยพบว่า 1) การวางแผนการสอน พบว่า ครูมีส่วนร่วมในการจัดเตรียมหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่ระบุข้อมูลแนวทางการจัดการเรียนการสอนและเลือกหน่วยการเรียนรู้ ที่สอดรับกับวรรณกรรม 2 รูปแบบ คือ การใช้วรรณกรรมเป็นสื่อที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้และการคัดเลือกวรรณกรรมโดยใช้วรรณกรรมเป็นจุดเริ่มของหน่วย ข้อมูลในแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดแทรกการใช้วรรณกรรมได้อย่างสอดคล้องกันทั้งด้านจุดประสงค์ การจัดประสบการณ์ กิจกรรม สื่อ และการประเมิน  2)  การจัดกิจกรรม พบว่า มีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กในด้านการเรียนรู้ภาษาผ่านวรรณกรรม และกิจกรรมพัฒนาทักษะและความรู้ผ่านวรรณกรรม โดยผ่านกิจวัตรประจำวัน และผ่านหน่วยการจัดประสบการณ์โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน 3) สื่อและสภาพแวดล้อม พบว่า มีสื่อวรรณกรรมที่ช่วยในการส่งเสริมการเรียนรู้ มีการจัดพื้นที่ในการทำกิจกรรมหลายรูปแบบ มีการจัดพื้นที่แสดงผลงานของเด็กที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรม มีมุมหนังสือที่จัดแสดงหนังสือที่เกี่ยวข้องกับหน่วยการเรียนรู้ 4) การประเมินผล พบว่าหน่วยการจัดประสบการณ์โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานมีการประเมินผลด้วยการนำเสนอในห้องและนิทรรศการ และมีการประเมินทักษะภาษาโดยใช้การประเมินด้านการเล่าเรื่อง พัฒนาการด้านการอ่าน และพฤติกรรมการอ่าน

 

The purpose of this qualitative research was to study the literature based instruction as the best practice of the child center at Tungmahamek School in 4 aspects: Instructional planning, activities organizing, the learning materials and environment, and assessment. The population included 5 preschool teachers. The research instruments were an observation from, interview form and content analysis form.

The results of this research were as follows: 1) Regarding instructional planning, all preschool teachers were involved in developing an early childhood, school-based curriculum and selecting the literature related to learning units in 2 types: using literature as learning resources related to learning units and selecting literature to be the learning topics. Literature was included in lesson plans as objectives, learning content, learning materials, and thorough evaluation. 2) Regarding activities organizing, they were organized to help children develop language skills through literature, and to develop their skills and knowledge through literature in daily life situations and through learning experiential units based on literature. 3) Regarding learning materials and environment, there were literature media utilized to promote learning literature in a variety of ways. There were different styles in organizing areas for activities, display areas related to literature, and display books related to learning units. 4) Regarding assessment, learning experiential units based on literature was being evaluated through presentation and exhibition. Language skills were being assessed through storytelling, reading development skills and reading behaviors.

Downloads

How to Cite

หวังดุล ป., & บุญซื่อ อ. (2014). การจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาลโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน:การปฏิบัติที่เป็นเลิศ ของโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ INSTRUCTIONAL MANAGEMENT OF PRESCHOOL ON A LITERATURE BASED APPROACH: BEST PRACTICE OF TUNGMAHAMEK SCHOOL. An Online Journal of Education, 9(1), 754–767. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/34815