การวิเคราะห์การใช้เพลงและคำคล้องจองของครูอนุบาล ANALYSIS OF SONG AND RHYME USAGE OF PRESCHOOL TEACHERS
Keywords:
การใช้เพลงและคำคล้องจอง, ครูอนุบาล, SONG AND RHYME USAGE, PRESCHOOL TEACHERSAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้เพลงและคำคล้องของครูอนุบาล ใน 3 ด้านได้แก่ ช่วงเวลาการใช้ จุดประสงค์การใช้และวิธีการใช้ ประชากรคือ ครูประจำชั้นอนุบาล 1-2 ที่สอนอยู่ในโรงเรียนที่ได้รับการประเมินว่าเป็นโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบและโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบเครือข่าย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร เป็นจำนวน 161 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ครูประจำชั้นอนุบาลในโรงเรียนที่ได้รับการประเมินว่าเป็นโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบและโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบเครือข่าย ที่สอนในระดับชั้นอนุบาล 1 - อนุบาล 2 ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2556 จำนวนทั้งสิ้น 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1) ช่วงเวลาการใช้ พบว่า ช่วงเวลาที่ครูส่วนใหญ่นำเพลงและคำคล้องจองมาใช้มากที่สุดคือ รอยต่อกิจกรรม รองลงมาคือ 6 กิจกรรมหลัก 2) จุดประสงค์การใช้ พบว่า ครูอนุบาลมีจุดประสงค์การใช้เพลงและคำคล้องจองมากที่สุดคือเพื่อการจัดการชั้นเรียน รองลงมาคือ เพื่อการสอน 3) วิธีการการใช้ พบว่า ครูอนุบาลมีวิธีการใช้เพลงและคำคล้องจองมากที่สุดด้วยวิธีการใช้ตัวครู ผ่านการร้องและท่องปากเปล่ามากที่สุด โดยร้องไปพร้อมกับเด็กตั้งแต่ต้นจนจบเพลงในช่วงการสอน และร้องหรือท่องคำวรรคแรกแล้วให้เด็กมีส่วนร่วมในการร้องหรือท่องจนกว่าเด็กจะพร้อมในช่วงรอยต่อกิจกรรม และรองลงมาคือการใช้ท่าทางประกอบเพลงและคำคล้องจอง ครูมักใช้เป็นท่าทางที่ครูคิดขึ้นเองและเป็นผู้นำและเด็กปฏิบัติตาม ส่วนวิธีการใช้เพลงะและคำคล้องจองผ่านอุปกรณ์นั้น อุปกรณ์ที่ใช้มักเป็นอุปกรณ์ประกอบจังหวะคือลูกแซกและแทมบูรีน
The purpose of this research was to analyze songs and rhymes of preschool teachers in 3 aspects; usage time, the purpose of usage and usage method. The populations were 161 kindergarten teachers of kindergarten 1 and kindergarten 2 at Early Childhood Center Model Schools and Early Childhood Center Model Associated Schools under the Bangkok Primary Educational Service Area Office. The samples were 24 kindergarten teachers of kindergarten 1 and Kindergarten 2 during the 2nd semester of 2013. The research instruments were an observation form, an interview form and content analysis form. The data was analyzed using frequency and content analysis.
The results of this research were as followed: 1) Usage time: The most time using song and rhyme was during transitions periods, followed by during 6 activities. 2) The purpose of usage: the most frequent purpose of usage was to use to manage classroom, followed by to teach. 3) Usage method: the most popular way to use songs and rhymes by singing and reciting aloud by the teachers themselves at most. During instruction, all teachers sang the whole song or rhyme repeatedly along with children. Meanwhile during transition periods, teacher would sing or rhyme only the first part of the song or rhyme, then gradually letting children take part in the song until the whole class was ready for the next activity. Followed by singing and reciting with body movement. The style of body movement was always being created by teachers who would lead it to children by oneself. For the way to use song and rhyme by tools, The musical instruments that were being used mostly was maracas and tambourine.