ผลของการจัดกิจกรรมโยคะที่มีต่อสมรรถภาพทางกลไกของเด็กวัยอนุบาล EFFECTS OF A YOGA ACTIVITIES PROVISION ON THE MOTOR FITNESS OF PRESCHOOLERS
Keywords:
กิจกรรมโยคะ, สมรรถภาพทางกลไก, เด็กวัยอนุบาล, YOGA ACTIVITIES, MOTOR FITNESS, PRESCHOOLERSAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมโยคะที่มีต่อสมรรถภาพทางกลไกของเด็กวัยอนุบาลใน 4 ด้านได้แก่ ความว่องไว ความสมดุล ความสัมพันธ์ของประสาทและกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัว กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนอนุบาลบ้านวาดฝันและเนิร์สเซอรี่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 12 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินสมรรถภาพทางกลไกของเด็กวัยอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน
ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมโยคะมีสมรรถภาพทางกลไกสูงกว่าก่อนการทดลอง
The purpose of this action research was to study the effects of the yoga activities provision on the motor fitness of preschoolers in 4 aspects including agility, balance, coordination, and flexibility. The target group was 12 second-level kindergarteners from Baanwadfan Kindergarten and Nursery under the Office of Private Education Commission studying in the second semester of academic year 2013. The duration of the study was 8 weeks. The research instrument was the preschoolers’ motor fitness evaluation form. The data were statistically analyzed by using arithmetic mean and standard deviation .
The research findings were as follows: After the experiment, the target group who participated in yoga activities had higher motor fitness score than before the experiment.