ผลของการใช้เกมแบบร่วมมือที่มีต่อการสร้างมิตรภาพของเด็กวัยอนุบาล

Authors

  • ศศิธร เจียงพัฒนากิจ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาจารย์ ดร.ปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ จารุชัยนิวัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

เกมแบบร่วมมือ, การสร้างมิตรภาพ, เด็กวัยอนุบาล, COOPERATIVE GAMES, BUILDING FRIENDSHIPS, PRESCHOOLERS

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้เกมแบบร่วมมือที่มีต่อการสร้างมิตรภาพของเด็กวัยอนุบาลใน 3 ด้าน ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การรักษาความสัมพันธ์ที่ดี และการประนีประนอมความขัดแย้ง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 จำนวน 28 คน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสังเกตการสร้างมิตรภาพของเด็กวัยอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที กิจกรรมการเล่นเกมแบบร่วมมือประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การแบ่งกลุ่ม     ขั้นที่ 2 การแนะนำวิธีการ ขั้นที่ 3 การกำหนดบทบาทหน้าที่ ขั้นที่ 4 การจัดกิจกรรม และขั้นที่ 5 การอภิปรายผล โดยใช้ระยะเวลาทดลอง 8 สัปดาห์

            ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังการทดลองเด็กกลุ่มเป้าหมายมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการสร้างมิตรภาพ สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการทดลองเด็กกลุ่มเป้าหมายมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการสร้างมิตรภาพ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการรักษาความสัมพันธ์ที่ดี และด้านการประนีประนอมความขัดแย้ง สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The purpose of this research was to study the Effects of organizing cooperative games towards building friendships of preschoolers in 3 aspects; 1) making contact 2) maintaining positive relationships 3) negotiating conflict. The target groups were twenty-eight k1.2 preschoolers under Office of the Basic Education Commission. Research tool used in this study was the observation form of friendships. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The organizing cooperative games consisted of 5 steps: step 1 divide into groups, step 2 guides to play, step 3 assign the duty, step 4 organized activities and step 5 discussions. The research duration was 8 weeks.

            The research findings were as follows: 1) After the experiment, the target group had higher on friendships score than before the experiment at a .05 significant level 2) After the experiment, the target group had higher on friendships in area of making contact, maintaining positive relationships and negotiating conflict score than before the experiment at a .05 significant level

Downloads

How to Cite

เจียงพัฒนากิจ ศ., & ธีรานุรักษ์ จารุชัยนิวัฒน์ อ. ด. (2015). ผลของการใช้เกมแบบร่วมมือที่มีต่อการสร้างมิตรภาพของเด็กวัยอนุบาล. An Online Journal of Education, 10(2), 40–53. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35221