การวิเคราะห์บทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอนุบาล ในโรงเรียนอนุบาลเสาไห้
Keywords:
บทบาทผู้ปกครอง, การส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็ก, เด็กวัยอนุบาล, PARENT ’S ROLES, PROMOTING FINE MOTOR SKILLS, EARLY CHILDHOODAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอนุบาล
3 ด้าน คือ ด้านการจัดกิจกรรม ด้านการจัดสภาพแวดล้อม และด้านการเสริมแรง ประชากร คือ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1-2 โรงเรียนอนุบาลเสาไห้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 จำนวน 153 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอนุบาล โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า 1) ด้านการเสริมแรงได้รับการส่งเสริมสูงสุดในระดับปฏิบัติมาก
เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า บทบาทของผู้ปกครองที่อยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การยิ้มหรือปรบมือเมื่อเด็กทำกิจกรรมด้วยตนเอง บทบาทของผู้ปกครองที่อยู่ในระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ การให้รางวัลเป็นของเล่นเมื่อเด็กช่วยงานบ้านหรืองานครัวง่ายๆ 2) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมได้รับการส่งเสริมในระดับปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า บทบาทของผู้ปกครองที่อยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การจัดพื้นที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอต่อการทำงาน บทบาทของผู้ปกครองที่อยู่ในระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ การจัดอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการทำงานประดิษฐ์ง่ายๆ
ที่บ้าน 3) ด้านการจัดกิจกรรมได้รับการส่งเสริมในระดับปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า บทบาทของผู้ปกครองที่อยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การให้เด็กรับประทานอาหารด้วยมือในการหยิบด้วยตนเอง บทบาทของผู้ปกครองที่อยู่ในระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ การให้เด็กช่วยจัดเตรียมโต๊ะอาหาร ตามลำดับ
The purpose of the research was to study parents’ roles in promoting fine motor skills of preschoolers in 3 respects: organizing activities, setting the environment, reinforcement. The population was 153 parents of preschoolers aged 3-5 years old, studying in Sao-Hai school. The research instrument was a questionnaire. The data were analyzed by using frequency distribution, percentage, mean and standard deviation.
The results of this research found that the parents’ roles in promoting fine motor skills were performed at a high level. When considering these aspects, it was found that: 1) reinforcement at the highest level was to give a smile or applause when children do things on their own, the lowest was to reward a toy when children helped the housework or easy cooking. 2) setting the environment at the highest level was to set the working area with sufficient light, the lowest was to supply tools for doing easy handicraft work at home. 3) organizing activities at the highest level was to let children eat by hands, the lowest was to let the children help to set the dinner table, respectively.