การจัดการชั้นเรียนของครูที่ตอบสนองต่อชั้นเรียนพหุวัฒนธรรมระดับประถมศึกษา ตอนต้น :การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา
Keywords:
พหุวัฒนธรรม, การจัดการชั้นเรียน, การศึกษาเปรียบเทียบ, MULTI-CULTURAL, CLASSROOM MANAGEMENT, COMPARATIVE STUDYAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการจัดการในชั้นเรียนที่ตอบสนองต่อความเป็น พหุวัฒนธรรมในประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยลงศึกษาภาคสนามเพื่อเปรียบเทียบ โดยใช้การเลือกกรณีศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง จานวน 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนประถมศึกษาในประเทศไทย สังกัดสานักการศึกษากรุงเทพมหานคร และโรงเรียนประถมศึกษาในมลรัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้วิจัยดาเนินการเก็บข้อมูลจากการศึกษาและวิเคราะห์เอกสารการสังเกตห้องเรียนแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ครู และผู้อานวยการโรงเรียนอย่างเป็นทางการเเละไม่เป็นทางการ โดยผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของการจัดการชั้นเรียนภายใต้บริบทพหุวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ
ผลการวิจัยพบว่า ห้องเรียนของประเทศไทย และห้องเรียนของประเทศสหรัฐอเมริกา มีสภาพความเป็น พหุวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ส่วนการจัดการในชั้นเรียนของครูประถมศึกษาตอนต้นที่ตอบสนองถึงความเป็นพหุวัฒนธรรม ในประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างกัน โดยครูในประเทศไทยและครูในประเทศสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างกันในเรื่องการจัดชั้นเรียน การสื่อสารในชั้นเรียนที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม ด้านแนวทางปฏิบัติและการเชื่อมโยงกับความเป็นพหุวัฒนธรรม การวางแผนพัฒนาชั้นเรียน และการแก้ปัญหาในชั้นเรียนที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม
The purposes of this qualitative study was to make a comparison of the classroom management between the schools in the United States of America (USA) and Thailand due to their multi-cultural backgrounds. Two schools, the primary school in Bangkok Thailand and in Texas USA, are selected as the study cases in this field research. The investigation is based on the non-participant observation along with the interviews of the teachers and the principals in both schools. These qualitative data, additionally, are analyzed to find the similarities and differences between the two schools with multi-cultural backgrounds in their countries.
As a consequence, even though the schools in both countries have multi-cultural backgrounds, the classroom managements are different. In fact, the activities in their classrooms such as the interaction of the teachers with the students in classrooms and the way the teachers organize their classrooms are divergent because of the multi-cultural backgrounds