การศึกษาความพร้อมและแนวทางการจัดการเรียนการสอนอาเซียนของครูระดับประถมศึกษากรุงเทพมหานครในโรงเรียนสังกัดสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

Authors

  • ปรีชญา พิริยุตะมา สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาจารย์ ดร.ยศวีร์ สายฟ้า อาจารย์ประจาสาขาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ความพร้อมของครู, การจัดการเรียนการสอน, ประชาคมอาเซียน, READINESS, LEARNING AND TEACHING MANAGEMENT, THE ASEAN COMMUNITY

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมเพื่อศึกษาความพร้อมและแนวทางการจัดการเรียนการสอนอาเซียนของครูระดับประถมศึกษากรุงเทพมหานครในโรงเรียนสังกัดสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาในระดับประถมศึกษา ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จานวน 223 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับอาเซียน และแบบสอบถามความพร้อมและสภาพการจัดการเรียนการสอนอาเซียนของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) t-test one-way ANOVA และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product – Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า ครูมีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนอาเซียนรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (Mean=3.49) โดยครูมีการเตรียมการทั้งในด้านหลักสูตร ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อการสอน และด้านการวัดและประเมินผลอย่างสม่าเสมอ ด้านสภาพการจัดการเรียนการสอนอาเซียนพบว่ารวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (Mean=3.46) โดยครูมีระดับการปฏิบัติทั้งในด้านหลักสูตร ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อการสอน และด้านการวัดและประเมินผลอย่างสม่าเสมอ และเมื่อเปรียบเทียบระดับความพร้อมกับการปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนอาเซียนพบว่า ความพร้อมมีค่าเฉลี่ยมากกว่าการปฏิบัติ เมื่อจาแนกตามระดับชั้นที่สอนพบว่า ครูที่สอนระดับชั้นเดียวและครูที่สอนมากกว่าหนึ่งระดับ มีความพร้อมและการปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนอาเซียนไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความพร้อมและการปฏิบัติต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมและสภาพในการจัดการเรียนการสอนอาเซียนของครู พบว่าความพร้อมแปลผันตามกันกับการปฏิบัติอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01

This research is a combined research in order to study the readiness of ASEAN learning and teaching management of elementary school teachers of the Office of the Private Education Commission in Bangkok. The group samples are 223 people from the multi-stage random sampling social studies teachers. Tools that are used in this research are interviews of the experts in the ASEAN learning and teaching and the questionnaire of the case study of the readiness of ASEAN teachers. The statistic that is used to analysis is mean, standard deviation, t-test one way ANOVA and the pearson product – moment correlation coefficient. The results of the research have found that the readiness of ASEAN learning and teaching is in the high level (mean=3.49). The condition of ASEAN teaching and learning is in the high level (mean=3.46). When we compare the readiness level with the ASEAN management operation, we found that the readiness level is higher than the operation level. When we distinguish into the teaching classes, we found that the teachers who teach only one class and the teachers who teach many classes have no difference neither in the readiness nor the operation. The teachers who have different degree levels are significantly different statistically 0.05 in the readiness and operation. The relationship between the readiness and the condition of ASEAN teaching and learning found that they are significantly different statistically 0.05 in the readiness and operation

Downloads

How to Cite

พิริยุตะมา ป., & สายฟ้า อ. ด. (2015). การศึกษาความพร้อมและแนวทางการจัดการเรียนการสอนอาเซียนของครูระดับประถมศึกษากรุงเทพมหานครในโรงเรียนสังกัดสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. An Online Journal of Education, 10(2), 132–143. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35269