การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติในวิชานาฏศิลป์ ระดับประถมศึกษาของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร

Authors

  • จุฑาพร ศราภัยวานิช สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า อาจารย์ประจำสาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การจัดการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติในวิชานาฏศิลป์, ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์, ภาษาท่านาฏศิลป์ นาฏยศัพท์, The practical Thai dancing skill management, the practical Thai dancing skill, dance terminology language, dance terminology

Abstract

การวิจัยนี้มุ่งสังเคราะห์แนวการสอนทักษะปฏิบัติในวิชานาฏศิลป์ และศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติในวิชานาฏศิลป์ของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูนาฏศิลป์ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสภาพการจัดการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติในวิชานาฏศิลป์ในระดับประถมศึกษา แบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติวิชานาฏศิลป์ แบบสังเกตสภาพการสอน และแบบสัมภาษณ์ครูนาฏศิลป์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การคำนวณแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และหาค่าความแปรปรวน เพื่อเปรียบเทียบระดับค่าความต่างของการจัดการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติในวิชานาฏศิลป์ มีการวิเคราะห์เนื้อหาโดยรวบรวมประเด็นสำคัญที่มีความสอดคล้องกัน ผลการวิจัยโดยวิเคราะห์การปฏิบัติของครูในการจัดการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์ พบว่า การสอนปฏิบัติจากง่ายไปยากครูได้ปฏิบัติการสอนเป็นส่วนใหญ่ (Mean=3.96) การสอนตามความสามารถของแต่ละบุคคลครูได้ปฏิบัติการสอนเป็นส่วนใหญ่(Mean=3.99) ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ทางนาฏศิลป์ครูได้ปฏิบัติการสอนอย่างสม่ำเสมอ (Mean=4.32) เทคนิคการสอนที่พัฒนาความสามารถของผู้เรียนครูได้ปฏิบัติการสอนเป็นส่วนใหญ่ (Mean=3.95) และการเรียนรู้นาฏศิลป์แบบบูรณาการครูได้ปฏิบัติการสอนเป็นส่วนใหญ่ (Mean=3.62)

This research focuses on the synthesis of a practical Thai dancing skill of the elementary school teachers and studies the teaching management of the office of the private education commission in Bangkok. There are 62 people who are the elementary school teachers of the office of the private education commission in Bangkok from the multi-stage random sampling social studies teachers. Tools that are used in this research are interviews of the experts in the practical Thai dancing skill, the questionnaires about the practical Thai dancing skill, the observation forms, and the interviews of the Thai dancing teachers by using the information analysis, using the calculating the frequency, percentage, and the variance in order to compare the disparity of the teaching management of the practical skill in Thai dancing. There is an analysis the content by gathering a consensus on key issues. The result finds that the practicing has been taught from easy to difficult skills (mean=3.96). Teaching from the personal ability (mean=3.99). The ability to convey knowledge (mean=4.32). The technical teaching the improvement of the student’s ability (mean=3.95), and the integrated learning of the Thai dancing class (mean=3.62)

Downloads

How to Cite

ศราภัยวานิช จ., & สายฟ้า อ. (2015). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติในวิชานาฏศิลป์ ระดับประถมศึกษาของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร. An Online Journal of Education, 10(2), 144–157. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35270