ผลของกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสอบโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น บูรณาการ ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

Authors

  • ภาพิสุทธิ์ ภูวญาณพงศ์ สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาจารย์ ดร.ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล อาจารย์ประจ่าสาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น, การบูรณาการ ICT กับการเรียนการสอน, ทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์, 7 LEARNING CYCLE, INTEGRATED WITH ICT, SCIENCE PROCESS SKILLS

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการทดลองและ การตีความหมายและลงข้อสรุปก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสอบโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติ 2)เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้าน การทดลองและการตีความหมายและลงข้อสรุปหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มสูงและกลุ่มต่่าในกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสอบโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางหญ้าแพรก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จ่านวน 2 ห้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแปรปรวนและทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมแตกต่างกัน อย่างมีนัยส่าคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนของกลุ่มทดลองมีคะแนนหลังการทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการทดลองและการตีความหมายและลงข้อสรุปหลังเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มสูงกับนักเรียนกลุ่มต่่าในกลุ่มทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยส่าคัญทางสถิติที่ระดับ.05 โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนในนักเรียนกลุ่มสูงมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังการเรียนมากกว่ากลุ่มต่่า

The objectives of this study were 1) to compare science process skill in experiments and interpreting scientific data before and after class of grade 5 students in the class that was taught by using seven steps of scientific inquiry method integrating with information and communication technology with the normal class. 2) To compare science process skill in experiments and interpreting scientific data before and after class of the high group with the low group in the class that was taught by using seven steps of scientific inquiry method integrating with information and communication technology. The participants of this study were two classes of grade 5 students of Wat Bangyhapraek School in the second semester of academic year 2014. The quantitative data analysis was based on arithmetic mean, standard deviation, variance, and T-test. The study found that 1) the science process skill in experiments between the experimental group and the control group was different at a significance level 0.5. The average score after class of the experimental group was higher than the control group. 2) The science process skill in experiments and interpreting scientific data after class between the high group and the low group was different at a significance level 0.5. The average score after class of the high group is higher than the low group.

Downloads

How to Cite

ภูวญาณพงศ์ ภ., & คล้ายมงคล อ. ด. (2015). ผลของกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสอบโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น บูรณาการ ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. An Online Journal of Education, 10(2), 172–184. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35272