ผลของการใช้กิจกรรมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ออนไลน์ที่มีต่อความสามารถใน การเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Authors

  • ผุสชา ทิพเนตร สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อ.ดร.พรพิมล ศุขะวาที อาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การเขียนเชิงสร้างสรรค์, บทเรียนออนไลน์, CREATIVE WRITING, ONLINE INSTRUCTION

Abstract

การเขียนเป็นทักษะที่ยากและการที่จะให้นักเรียนเขียนนั้นก็เป็นเรื่องที่ยากเช่นกัน ดังนั้น การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนของนักเรียนและสร้างแรงจูงใจที่ดีในการเขียน โดยบูรณาการทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์และการเรียนออนไลน์เช้าสู่การเรียนการสอนเขียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 38 คน กำลังศึกษาการเขียนขั้นพื้นฐาน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ผู้วิจัยใช้วิธีสุ่มแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเรียนออนไลน์ และกลุ่มเรียนในชั้นเรียน นักเรียนทั้งสองกลุ่มทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ในระยะทดลอง 12 สัปดาห์นั้น นักเรียนกลุ่มออนไลน์ศึกษาบทเรียนด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ ในขณะที่กลุ่มเรียนในชั้นเรียน
ได้รับบทเรียนการเชียนเชิงสร้างสรรค์ในห้อง เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยศึกษาแรงจูงใจในการเรียนและการเขียนของนักเรียนโดยใช้แบบสอบถามแรงจูงใจ ผลการทดลองพบว่า ความสามารถทางการเขียนของนักเรียนทั้งสองกลุ่มได้เพิ่มขึ้นหลังจากการทดลอง แต่เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ผลปรากฏว่า นักเรียนกลุ่มเรียนในชั้นเรียนมีผลการเรียนสูงกว่ากลุ่มออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการทดลองยังชี้ให้เห็นว่า การเรียนออนไลน์สามารถสร้างแรงจูงใจได้มากกว่าการเรียนในชั้นเรียน ผลการทดลองชี้ไปสู่การเรียนแบบผสมผสานในห้องเรียนการสอนการเขียนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนของนักเรียน อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยได้ศึกษาและอธิบายถึงปัจจัยที่มีผลต่อผลการทดลอง

Writing is a difficult skill and getting students to write can be also difficult. Therefore, this study intended to improve students’ writing ability and create positive writing motivation by integrating online instruction and creative writing skills into a writing course. 38 mathayom 1 students, who were taking
basic writing in the second semester academic year 2014 at a provincial high school in Thailand, were randomly divided into two groups: online group and face-to-face group (FTF). Both groups were required to take a creative writing pre-test and a creative writing post-test. During the 12-week experiment, the
online group worked independently online, while the FTF group received the treatment in a classroom setting. After the experiment, students’ learning and writing motivation were investigated. The results revealed that students’ creative writing ability in both groups was improved due to the experiment.
When the online group post-test score was compared with the FTF group, there was a significant difference in the post-test score in favor of FTF instruction. However, it was found that online instruction can promote students’ motivation more than FTF instruction. The results suggested that a blended
creative writing course should be considered in order to improve students’ writing ability. Furthermore, possible factors that could have affected the results were discussed.

Downloads

How to Cite

ทิพเนตร ผ., & ศุขะวาที อ. (2015). ผลของการใช้กิจกรรมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ออนไลน์ที่มีต่อความสามารถใน การเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. An Online Journal of Education, 10(2), 185–194. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35273