ผลกระทบของการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเชิงเทววิทยาคริสเตียน แบบเน้นมโนทัศน์ต่อความเข้าใจในการอ่านและแรงจูงใจในการอ่านของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

Authors

  • เจนจิรา คีรีรัตน์นิติกุล Department of Curriculum and Instruction Faculty of Education, Chulalongkorn University, Bangkok
  • ดร.พรพิมล ศุขะวาที Department of Curriculum and Instruction Faculty of Education, Chulalongkorn University, Bangkok

Keywords:

การสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์, การอ่านภาษาอังกฤษเชิงเทววิทยาคริสเตียน, ความเข้าใจในการอ่าน, แรงจูงใจในการอ่าน, นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, CONCEPT-ORIENTED READING INSTRUCTION, CHRISTIAN THEOLOGICAL ENGLISH READING, READING COMPREHENSION, READING MOTIVAT

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาผลกระทบของการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเชิงเทววิทยาคริสเตียนแบบเน้นมโนทัศน์ต่อความเข้าใจในการอ่านและต่อแรงจูงใจในการอ่านของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ของสถาบันกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จานวน 29 คน การทดลองใช้เวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ สาหรับสถิติที่ใช้วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบความเข้าใจในการอ่านเชิงเทววิทยาคริสเตียน และคะแนนเฉลี่ยของผลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการอ่านเชิงเทววิทยาคริสเตียนระหว่างก่อนและหลังการทดลอง คือ Paired-samples t-test
จากผลการวิจัยพบว่า (1) คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบความเข้าใจในการอ่านเชิงเทววิทยาหลังการทดลองของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .000 (p<.05) และ (2) คะแนนเฉลี่ยของแบบสอบถามแรงจูงใจในการอ่านเชิงเทววิทยาหลังการทดลองของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .000 (p<.05) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแรงจูงใจในการอ่านเชิงเทววิทยาโดยแบ่งตามประเภทแล้วพบว่า ค่าเฉลี่ยของประเภทแรงจูงใจเสริมสามประเภท คือ แรงจูงใจภายใน ความมั่นใจในความสามารถของตนเอง และการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม และค่าเฉลี่ยของประเภทแรงจูงใจต้านหนึ่งประเภท คือ ความรู้สึกว่ายาก ในช่วงก่อนและหลังการทดลองมีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .000 (p<.05) สาหรับเหตุผลที่ทาให้ผลลัพธ์ของแรงจูงใจต้านประเภทความรู้สึกอยากหลีกเลี่ยงไม่ลดลงอย่างมีนัยสาคัญหลังการทดลอง เพราะนักศึกษาบางคนตีความแบบสอบถามที่เกี่ยวกับความรู้สึกอยากหลีกเลี่ยงในเชิงบวกแทนเชิงลบ และสาหรับเหตุผลที่ทาให้ผลลัพธ์ของแรงจูงใจต้านประเภทการมีปฏิสัมพันธ์แบบต่อต้านสังคมไม่ลดลงอย่างมีนัยสาคัญเช่นกัน เพราะนักศึกษาที่มีความเชื่อแบบคริสเตียนเข้มแข็งมักไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบต่อต้านสังคมต่อผู้อื่นตามพื้นฐานของพระมหาบัญญัติของคริสเตียน กล่าวโดยสรุป การสอนการอ่านภาษาอังกฤษเชิงเทววิทยาคริสเตียนแบบเน้นมโนทัศน์สามารถเพิ่มความเข้าใจในการอ่านและแรงจูงใจในการอ่านของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

The objectives of this study are to investigate the effects of Christian theological English reading using concept-oriented reading instruction to enhance reading comprehension and reading motivation of the undergraduate students. The samples were 29 second year students who studied at the Bangkok Institute of Theology, Christian University, in the first semester, academic year 2014 during 12 weeks. The paired-samples t-test was used to analyze the differences between the students’ mean scores of the pre and post Christian theological reading comprehension test and of the reading motivation questionnaire.
The findings showed that (1) the students’ posttest mean scores of Christian theological reading comprehension test were higher than the pretest mean scores at the significance level of .000 (p < .05) and (2) the students’ posttest mean scores of reading motivation questionnaire were higher than the pretest mean scores at the significance level of .000 (p < .05). However, regarding reading motivation constructs, the results yielded significant differences in three affirming constructs: intrinsic motivation, self-efficacy, and prosocial interaction, and in only one undermining construct: perceived difficulty. The reason why the results of avoidance construct did not decrease significantly after the treatment was because some students interpreted avoidance items too positively. Neither did the antisocial interaction construct decrease because the students with strong Christian beliefs are usually not supposed to have antisocial interactions toward other people based on the Christian great commandments.
In conclusion, Christian theological English reading using concept-oriented reading instruction can enhance reading comprehension and reading motivation of undergraduate students.

Downloads

How to Cite

คีรีรัตน์นิติกุล เ., & ศุขะวาที ด. (2015). ผลกระทบของการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเชิงเทววิทยาคริสเตียน แบบเน้นมโนทัศน์ต่อความเข้าใจในการอ่านและแรงจูงใจในการอ่านของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. An Online Journal of Education, 10(2), 210–224. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35275