ผลของการใช้โมเดลของฟิชเชอร์และเฟรย์ในการเพิ่มระดับความรับผิดชอบในการเรียนที่มีต่อ ความสามารถทางการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Authors

  • พิชินาถ กุมภวรรณ Department of Curriculum and Instruction Faculty of Education, Chulalongkorn University, Bangkok
  • รศ.ดร.สุมาลี ชิโนกุล Department of Curriculum and Instruction Faculty of Education, Chulalongkorn University, Bangkok

Keywords:

โมเดลของฟิชเชอร์และเฟรย์ในการเพิ่มระดับความรับผิดชอบในการเรียน, การสอนโดยการใช้ สแคฟโฟล์ด, ความสามารถทางการเขียน, FISHER AND FREY’S GRADUAL RELEASE OF RESPONSIBILITY MODEL, SCAFFOLDED INSTRUCTION, ENGLISH WRITING ABILITY

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของฟิชเชอร์และเฟรย์ในการเพิ่มระดับความรับผิดชอบในการเรียนที่มีต่อความสามารถทางการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) ศึกษาการเรียนรู้การเขียนของนักเรียนในวิชาการเขียนที่ใช้โมเดลของฟิชเชอร์และเฟรย์ในการเพิ่มระดับความรับผิดชอบในการเรียน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จานวน 31 คน โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการเขียน1 เครื่องมือในงานวิจัยได้แก่ แบบทดสอบความสามารถทางการเขียนก่อนและหลังเรียน แบบสังเกต และการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ คะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่ามีค่าขนาดอิทธิพลสูง (2) มีการตอบสนองเชิงบวกโดยแสดงความเข้าใจต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับดี และ (3) โมเดลของฟิชเชอร์และเฟรย์ในการเพิ่มระดับความรับผิดชอบในการเรียนมีผลเชิงบวกต่อการพัฒนาการเรียนรู้การเขียนของนักเรียน

The objectives of this study were to: 1) to explore the effects of Fisher and Frey’s gradual release of responsibility model on students’ writing ability of tenth grade students; 2) to investigate the learning of students’ writing in the writing course using the Fisher and Frey’s gradual release of responsibility model. The participants of the study were 31 tenth grade students at Surasakmontree school who enrolled in Writing I course. The research instruments were a pretest and posttest of English writing ability, a teacher observation and interview questions. Descriptive statistics: mean scores, S.D., and dependent t-test were used to analyze students’ writing ability. Teacher observation and interview question s were analyzed by using content analysis.
The results revealed that (1) the posttest mean scores of students’ writing ability were higher than pretest scores at significant level of 0.05. The magnitude of the effect size was large. (2) Students’ positive responses showing their understanding were at good level; (3) and Fisher and Frey’s gradual release of responsibility model had positive effects on improving students’ learning of writing.

Downloads

How to Cite

กุมภวรรณ พ., & ชิโนกุล ร. (2015). ผลของการใช้โมเดลของฟิชเชอร์และเฟรย์ในการเพิ่มระดับความรับผิดชอบในการเรียนที่มีต่อ ความสามารถทางการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. An Online Journal of Education, 10(2), 225–237. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35276