ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบแบบมีการโต้แย้งร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีและความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

Authors

  • ภคพร อิสระ สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.อลิศรา ชูชาติ อาจารย์ประจาสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

รูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบแบบมีการโต้แย้ง, เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี, ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์, ARGUMENT-DRIVEN INQUIRY INSTRUCTIONAL MODEL, COOPERATIVE LEARNING TECHNIQUES, CHEMISTRY LEARNING ACHIEVEMENT, SC

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบแบบมีการโต้แย้งร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีระหว่างนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบแบบมีการโต้แย้งร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือและนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป 3) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนเคมีด้วยรูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบแบบมีการโต้แย้งร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 4)เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบแบบมีการโต้แย้งร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือและนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณ ราชวิทยาลัย ลพบุรี จานวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี และแบบประเมินความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี สูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้ที่ร้อยละ 70 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีสูงกว่านักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

This study was a quasi-experimental research. The purposes of this study were (1) to study the chemistry learning achievement of student who learnd through the argument-driven inquiry instructional model with cooperative learning techniques, (2) to compare the chemistry learning achievement of student between an experimental group that learnd through the argument-driven inquiry instructional model with cooperative learning techniques and a control group that learned through a conventional teaching, (3) to compare the scientific reasoning abilities of students between before and after learning through the argument-driven inquiry instructional model with cooperative learning techniques, and (4) to compare the scientific reasoning abilities of students between an experimental group and a control group. The samples were two classes of Mathayom Suksa 4 students at Princess Chulabhorn's College Lopburi.
The research instruments were a chemistry learning achievement test and scientific reasoning abilities. The collects data were analyzed by arithmetic mean, means of percentage, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows: (1) After the experiment, the average scores of chemistry learning achievement of the experimental group was higher than the criterion score set at 70 percent. (2) After the experiment, the percentage average scores of chemistry learning achievement of the experimental group was higher than the control group at .05 level of significance. (3) After the experiment, the experimental group had an average scores of scientific reasoning abilities higher than before the experimental at .05 level of significance. (4) After the experiment, the experimental group had an average scores of scientific reasoning abilities higher than the control group at .05 level of significance.

Downloads

How to Cite

อิสระ ภ., & ชูชาติ ผ. (2015). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบแบบมีการโต้แย้งร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีและความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. An Online Journal of Education, 10(2), 249–260. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35278