ผลของโปรแกรมทักษะชีวิตที่มีต่อความสามารถในการจัดการอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Keywords:
โปรแกรมทักษะชีวิต/ ความสามารถในการจัดการอารมณ์, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, LIFE SKILLS PROGRAM, MANAGEMENT ON ABILITY OF COPING WITH EMOTIONS, LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTSAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทักษะชีวิตที่มีต่อความสามารถในการจัดการอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการทดลองจัดโปรแกรมทักษะชีวิตที่มีต่อความสามารถในการจัดการอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งกาลังศึกษาอยู่ในภาคปลายปีการศึกษา 2557 โรงเรียนในสังกัดสานักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร จานวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมทักษะชีวิตด้านการจัดการอารมณ์จานวน 16 แผนกิจกรรม 2) แบบประเมินความสามารถในการจัดการอารมณ์ จานวน 42 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย (xˉ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติทดสอบ t (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมทักษะชีวิตที่มีต่อความสามารถในการจัดการอารมณ์มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการจัดการอารมณ์มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมทักษะชีวิตที่มีต่อความสามารถในการจัดการอารมณ์มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการจัดการอารมณ์มากกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมทักษะชีวิต อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This research was conducted to examine 1) Effects of life skills program management on ability of coping with emotions of lower secondary school students 2) To compare the effects of life skills program management on ability of coping with emotions of lower secondary school students pre-test and post-test between experimental group and control group. The research samples covered 60 grade 8 students in the second semester of the academic year 2014 at school under Office of the Basic Education of Bangkok. The subjects were classified into 2 groups of 30 students each. The research instruments consisted of 16 activities of life skills program and 42 items test of management on ability of coping with emotions. The statistics used in this research were mean, standard deviation and t-test.
The research findings were as follows. 1) The experimental group students who received life skills program exhibited higher scores on ability of coping with emotions than before the experimental, significant at .05 level 2) The experimental group students who received life skills program showed higher scores on ability of coping with emotions than control group, significant at .05 level