ผลของการออกกาลังกายโดยใช้โบซูบอลที่มีผลต่อการทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนโลหิตของเด็กออทิสติก

Authors

  • นิรุตติ์ สุขดี สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.สุธนะ ติงศภัทิย์ อาจารย์ประจาสาขาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ออทิสติก, การทรงตัว, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, ระบบไหลเวียนโลหิต, AUTISTIC, BALANCE, MUSCLE STRENGTH, CARDIOVASCULAR SYSTEM

Abstract

การวิจัยเรื่อง ผลของการออกกาลังกายโดยใช้โบซูบอลที่มีผลต่อการทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและระบบไหลเวียนโลหิตของเด็กออทิสติก เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research Design) มีกลุ่มตัวอย่างเพียงหนึ่งกลุ่ม โดยได้คัดเลือกกลุ่มเด็กออทิสติกที่ได้รับการวินิจฉัยจากทางแพทย์ว่ามีภาวะออทิสซึ่มอยู่ในระดับปานกลาง อายุระหว่าง 13 ปี ถึง 18 ปี เพศชาย จานวน 15 คน ทาการเปรียบเทียบผลการทดลอง จากการทดสอบก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลองสัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และหลังจากการทดลอง จานวน 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลของการทดลองในเชิงสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านการทรงตัว พบว่า ระหว่างการทดลองสัปดาห์ที่ 4, 6 และหลังการทดลอง อัตราค่าเฉลี่ยความสามารถในการทรงตัวของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง ผลการเปรียบเทียบค่าความแตกต่างทางสถิติ พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พบว่า ระหว่างการทดลองสัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และหลังการทดลอง อัตราค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง ผลการเปรียบเทียบค่าความแตกต่างทางสถิติ พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านระบบไหลเวียนโลหิต พบว่า ระหว่างการทดลองสัปดาห์ที่ 4, 6 และหลังการทดลอง อัตราค่าเฉลี่ยความสามารถทางกายในด้านระบบไหลเวียนโลหิตของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง ผลการเปรียบเทียบค่าความแตกต่างทางสถิติ พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The research, entitled “effect of exercise using bosu ball on balance, muscle strength and cardiovascular system of the autistic children” provides a quasi-experimental with a sample of one group. In conducting the research, this paper careful chooses a group of children with autism, develmental disorder of the body who was diagnosed by the doctor that the conditions of autism at the moderate level., Age of participants are from 13 year to 18 year, male 15 people. The research aims at comparing the result. The tests before the experiment. During the trail, weeks 2, 4, 6 and 8 weeks after the trail, the researcher collected data and statistical analysis of the results of the experiment.
The results showed that 1. Physical fitness test found that the balance between experimental weeks 4, 6 and after the experiment. The average rate of the experimental group capable of sustaining increased compared to before the experiment. The comparison showed that differences are significantly different at the statistical level .05 2. Physical fitness test muscle strength showed that during the trail weeks 2, 4, 6 and after experiment. The average rate of muscle strength was increased significantly compared to before treatment. The comparison showed that the differences are significantly different at the statistical level .05 3. Physical fitness test found that the cardiovascular system between experimental weeks 4, 6 and after the experiment. The average physical abilities in the circulatory system of the experimental group increased in comparison with previous trails. The comparison showed that the differences are significantly different at the statistical level .05

Downloads

How to Cite

สุขดี น., & ติงศภัทิย์ ผ. (2015). ผลของการออกกาลังกายโดยใช้โบซูบอลที่มีผลต่อการทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนโลหิตของเด็กออทิสติก. An Online Journal of Education, 10(2), 335–349. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35316