ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้เทคนิค เอส เอ คิว เพื่อเสริมสร้างความคล่องแคล่วว่องไวในกีฬาวอลเล่ย์บอลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • วัฒนพงษ์ ศรีธรรมมา สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.สุธนะ ติงศภัทิย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

โปรแกรมการฝึก เอส เอ คิว, ความคล่องแคล่วว่องไว, กีฬาวอลเล่ย์บอล, SAQ, Agility, Volleyball

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้เทคนิค เอส เอ คิว เพื่อเสริมสร้างความคล่องแคล่วว่องไวในกีฬาวอลเล่ย์บอลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คน โดยวิธีการแบ่งกลุ่มแบบจับคู่ ใช้เวลาทดลอง 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 40 นาที เครื่องมือการวิจัยได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (IOC = .85) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า “ที” และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวด้วยการวัดซ้ำ (One-Way Analysis of Variance With Repeated Measures) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของแอลเอส ดี (LSD)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผลการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความคล่องแคล่วว่องไว ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
2.ผลการทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยความคล่องแคล่วว่องไว หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

The purpose of this quasi research was to study the Effects of Physical Education activities using SAQ technique to enhance agility in volleyball for lower Secondary School Students The samples were 40 Student in lower Secondary of Latplakhaophitthayakhom School. Matching technique were used to divided the samples into two groups with 20 each, control and experimental groups. The experiment took eight weeks, three days a week with an 40 minute. The validity of the instruments was using IOC method (IOC=.85), The statistics were analyzed in term of Means, Standard deviation, t-test, and one – way analysis of variance with repeated measures and multiple comparison by LSD method.
1.The result experimental group had an average pre-trial agility. At 4 weeks and 8 weeks after the experiment significantly different at the statistical level. 05.
2.The exprimentation of testing group and the controler group has agility average after 8 weeks of exprimentation diffeeent in the statistic of .05

Downloads

How to Cite

ศรีธรรมมา ว., & ติงศภัทิย์ ผ. (2015). ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้เทคนิค เอส เอ คิว เพื่อเสริมสร้างความคล่องแคล่วว่องไวในกีฬาวอลเล่ย์บอลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. An Online Journal of Education, 10(2), 362–368. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35318