แนวทางการจัดกิจกรรมทางกายหลังเลิกเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร

Authors

  • จุฑารัตน์ ภัทรเกษวิทย์ สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.สุธนะ ติงศภัทิย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

กิจกรรมทางกายหลังเลิกเรียน, สุขศึกษาและพลศึกษา, AFTER SCHOOL PHYSICAL ACTIVITY, HEALTH AND PHYSICAL

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมทางกายหลังเลิกเรียนและเปรียบเทียบระหว่างขนาดโรงเรียนต่อการจัดกิจกรรมทางกายหลังเลิกเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเกี่ยวการจัดกิจกรรมทางกายหลังเลิกเรียนด้านกระบวนการบริหาร เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนหรือครูพลศึกษาหรือผู้จัดกิจกรรมทางกายหลังเลิกเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 390 คน ได้แบบสอบถามคืนทั้งสิ้น 386 ชุด คิดเป็นร้อยละ 99.0 และนักเรียน จำนวน 400 คน ได้แบบสอบถามคืนทั้งสิ้น 398 ชุด คิดเป็นร้อยละ 99.5 ผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบไค-สแควร์ โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนมีจัดกิจกรรมทางกายหลังเลิกเรียนให้กับนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 83.6 การบริหารจัดกิจกรรมทางกายหลังเลิกเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางคือ ด้านงบประมาณและทรัพยากร ด้านบุคลากร ด้านการประเมินผล และมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากคือ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านอำนวยการ และด้านประสานงาน 2) การเปรียบเทียบระหว่างขนาดโรงเรียนมีผลต่อการจัดกิจกรรมทางกายหลังเลิกเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการจัดกิจกรรมทางกายหลังเลิกเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ควรมีการจัดอบรมครูในเรื่องการจัดกิจกรรมทางกาย เพื่อสามารถบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติได้ และนักเรียนควรมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทางกายหลังเลิกเรียน

The purpose of this research were to study in managing for after school physical activities and compare size school related to management for after school physical activities in elementary schools under Bangkok metropolitan administration. The questionnaire related to the administration process. The samples were administrators or physical education teachers or physical activities after school of 390 sets. 99% from 386 questionnaires were returned. Questionnaires of student 400 sets returned questionnaires were 398 or 99.5%. The statistic software computer program was applied for data analysis including percentage, mean, standard deviations and chi – Square.
The results were as follows: 1) Schools have managed after school physical activities in elementary schools under Bangkok metropolitan administration 83.6% and management for after school physical activities are staffing budgeting reporting. The overall state performed at moderate levels. And planning organization directing coordinating that overall state performed at high levels.
2) The comparison of size school between management for after school physical activities showed no significance different in all aspects at the .05 levels. 3) Guidelines for managing after- school physical activity in elementary schools under Bangkok metropolitan administration that the teachers should provide teacher training in managing for after school physical activity. In order to integrate the knowledge into action and students should participate in managing for after school physical activities.

Downloads

How to Cite

ภัทรเกษวิทย์ จ., & ติงศภัทิย์ ผ. (2015). แนวทางการจัดกิจกรรมทางกายหลังเลิกเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. An Online Journal of Education, 10(2), 407–421. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35323