ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมกีฬารักบี้ฟุตบอล เพื่อพัฒนาความมีน้าใจนักกีฬาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

Authors

  • วุฒินันท์ ศรีแถลง สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.รัชนี ขวัญบุญจัน อาจารย์ประจ้าสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การจัดการเรียนรู้พลศึกษา, กีฬารักบี้ฟุตบอล, ความมีน้าใจนักกีฬา, มัธยมศึกษาตอนปลาย, Learning Management Education, rugby football, sportsmanship, Senior High School

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมกีฬารักบี้ฟุตบอลเพื่อพัฒนาความมีน้าใจนักกีฬาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ที่เรียนวิชาเลือกพลศึกษากีฬารักบี้ฟุตบอล จ้านวน 60 คน โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ดแบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง จ้านวน 30 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมกีฬารักบี้ฟุตบอลเพื่อพัฒนาความมีน้าใจนักกีฬาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และนักเรียนกลุ่มควบคุม จ้านวน 30 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมกีฬารักบี้ฟุตบอลแบบปกติ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบความมีน้าใจนักกีฬา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบผลการทดลองของนักเรียนกลุ่ม
ทดลองและนักเรียนกลุ่มควบคุมด้วยข้อมูลทางสถิติ ทดสอบค่าที ที่ระดับนัยส้าคัญทางสถิติที่ระดับ.05
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้าใจนักกีฬาของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมกีฬารักบี้ฟุตบอลเพื่อพัฒนาความมีน้าใจนักกีฬาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้าใจนักกีฬาของนักเรียนกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบปกติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส้าคัญที่ .05 3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้าใจนักกีฬาหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมกีฬารักบี้ฟุตบอล เพื่อพัฒนาความมีน้าใจนักกีฬาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา แตกต่างกันกับของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กิจกรรมกีฬารักบี้ฟุตบอลแบบปกติ อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

This research aims to study the effect of teaching physical education activities using rugby football to develop sportsmanship of high school students. The sample of students in the 4-6 class elective physical education Sports Rugby 60 in Srinakarindra the Princess Mother schools Roi-et divided into groups of 30 people have been learning gymnastics, the sport of rugby football to develop. The Sportsmanship of the students at the end of 8 weeks and a control group of 30 students have been learning gymnastics, athletics, rugby, football, using the conventional method. The tools used in this research test sportsmanship. Data were analyzed by comparing the results of an experimental group and a control group with statistical t-test was statistically significant at the .05 level.
The results showed that. (1) the average of the sportsmanship of the experimental group was taught by physical education activities for the development of rugby football sportsmanship of students increased
significantly statistically. Level. 05 (2) the average of the sportsmanship of the control group. Before and after learning normally do not differ significantly. 05 (3) an average rating of sportsmanship. After the experiment, the experimental group had been learning gymnastics, athletics, rugby, using football to
develop sportsmanship of the students. Different to that of the control group received the Learning Management athletics, rugby, football normal. Level of statistical significance. 05.

Downloads

How to Cite

ศรีแถลง ว., & ขวัญบุญจัน ร. (2015). ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมกีฬารักบี้ฟุตบอล เพื่อพัฒนาความมีน้าใจนักกีฬาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. An Online Journal of Education, 10(2), 444–456. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35326