ผลการจัดกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิงที่ส่งเสริมสุนทรียภาพสาหรับเด็กอายุ 7-9 ปี

Authors

  • สุภลักษณ์ วงศ์หน่อ สาขาวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่อยู่ 245 หมู่ 7 ต.ร้องเข็ม อ.ร้องกวาง จ.แพร่ 54140
  • อาจารย์ ดร.โสมฉาย บุญญานันต์ สาขาวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

กิจกรรมศิลปะ, ศึกษาบันเทิง, สุนทรียภาพ, เด็กอายุ 7-9 ปี, EDUTAINMENT, ART ACTIVITIES, AESTHETIC, CHILDREN AGED 7-9 YEARS OLD

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิงที่ส่งเสริมประสบการณ์ทางสุนทรียภาพของเด็กอายุ 7-9 ปี 2) ศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิงที่เหมาะสมกับเด็กอายุ 7-9 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอายุ 7-9 ปี โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จานวน 39 คน โดยไม่จาแนกเพศ ใช้ระยะเวลาดาเนินการทดลอง 7 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยจากแนวทางศึกษาบันเทิงของ Randy White และทฤษฎีพัฒนาการสุนทรียภาพของ Michael J. Parsons ซึ่งวิเคราะห์
ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพัฒนาการสุนทรียภาพของนักเรียนที่มีต่อภาพผลงานศิลปะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนผ่านกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยสูงสุดของระดับพัฒนาการสุนทรียภาพของนักเรียนที่มีต่อภาพผลงานศิลปะอยู่ที่ระดับ 3 การแสดงออก (Expressiveness) (xˉ = 2.02) 3) พฤติกรรมประสบการณ์ทางสุนทรียะของนักเรียนในระหว่างการจัดกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิงที่ปรากฏมากที่สุด คือ สนใจต่อเนื้อหา 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิง คือ นักเรียนพึงพอใจกิจกรรมดินแดนBABAPAPA และนักเรียนใฝ่ฝันที่จะแสดงผลงานศิลปะของตนเองมากที่สุด และ 5) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นมากที่สุดในแต่ละขั้นตอนของแผนการจัดการเรียนรู้แนวทางศึกษาบันเทิง คือ ขั้นนาเกิดพฤติกรรมการสังเกต พิจารณา และริเริ่มเรียนรู้ด้วยตนเอง ขั้นกิจกรรมเสริมประสบการณ์เกิดพฤติกรรมความร่วมมือและการทดลอง ขั้นดาเนินงานเกิดพฤติกรรมการทดลองและทาซ้า และขั้นสรุปเกิดพฤติกรรมการวิเคราะห์

The objectives of this research were to 1) Study effects of aesthetic experiences enhancement through Edutainment art activities on aesthetic of children aged 7-9 years old and 2) Study and develop Edutainment art activities model suitable for children aged 7-9 years old. The sample group composed of 39 children aged 7-9 years old at Chulalongkorn University Demonstration School, regardless to genders. The durations of the experiment were 7 weeks. The research instruments were developed by the researcher based on Randy White’s approach in using the Edutainment and Michael J. Parsons’ Cognitive and Development Account of Aesthetic Experience. The data were analyzed by using frequencies, means, standard deviation, and t-test. The findings revealed that 1) The level of aesthetic development of students were higher than before learning through Edutainment art activities at the significant difference level of .05, 2) The highest mean of the level of aesthetic development of students on the works of art were at level 3 (expressiveness) (xˉ = 2.02), 3) The most of aesthetic experience behaviors shown by the students was interest in content, 4) The students’ satisfaction in Edutainment art activities, at highest
level of agreement were they satisfied “ BABAPAPA territory ” and wish to exhibit their works of art, and 5) The most of behaviors shown at each step of the Edutainment art activities lesson plans were introduction had observation and consideration, activities experience had cooperation and experiment,
operation had experiment and repetition and conclusion had an analysis.

Downloads

How to Cite

วงศ์หน่อ ส., & บุญญานันต์ อ. ด. (2015). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิงที่ส่งเสริมสุนทรียภาพสาหรับเด็กอายุ 7-9 ปี. An Online Journal of Education, 10(2), 471–483. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35328